ทำสีโมเดลกันดั้ม แอร์บรัช โมเดล ทำสีโมเดล หนังสงคราม หนังทหาร โมเดล model gundam กันพลา อุปกรณ์ สอน ขาย จำหน่าย วิธี ทำ ประกอบ กันดั้ม เครื่องบิน เรือ รถถัง ฟิกเกอร์ ประกอบ ทำสี ต่อ สร้าง พลาสติก gunpla ตัดเส้น ต่อดิบ คีมตัด หุ่นยนต์ gundamtool 
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=29079.msg231633#msg231633
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ปัญหาที่พบบ่อย ทำโมเดล
หนังสือประวัติศาสตร์ สงคราม ทหาร สงครามโลก
ทำสีโมเดลกันดั้ม แอร์บรัช โมเดล ทำสีโมเดล หนังสงคราม หนังทหาร โมเดล model gundam กันพลา อุปกรณ์ สอน ขาย จำหน่าย วิธี ทำ ประกอบ กันดั้ม เครื่องบิน เรือ รถถัง ฟิกเกอร์ ประกอบ ทำสี ต่อ สร้าง พลาสติก gunpla ตัดเส้น ต่อดิบ คีมตัด gundamtool  - รับชมจบแต่ละหน้าแล้วที่มุมขวาล่างสุด คลิก "บทความที่เก่ากว่า" ยังมีบทความเพิ่มอีกนะครับ - ติดต่อพูดคุย ปรึกษา หรือให้คำแนะนำ ผมได้เลยที่ kit556แอ๊ดgmail.com หรือ comment ในแต่ละบทความ หรือ คลิก ติดต่อแวะชม facebook ผมได้ครับ

Acrylics Weathering

= acrylics weathering

สวัสดีครับ วันนี้นำเทคนิคที่ผมกำลังหัดอยู่มาฝากครับ

เนื่องจากผมกำลังศึกษาเกี่ยวกับสีสูตร acrylic (สูตรน้ำ) ->
http://thaimodel-kit.blogspot.com/search/label/acrylic

ซึ่งผมพบว่ามันน่าสนใจมากครับ ข้อดีคร่าวๆดังนี้

1. เป็นเพราะว่าผมเล่นแนวรถถังเป็นหลักสี acrylic จะให้สีด้านที่เรียบเนียนมาก โดยไม่ต้องผสมอะไรเพิ่มเลย เหมาะกับคนชอบสีด้านมาก

2. หลังมีโอกาสทดลองใช้สี acrylic ของ Tamiya และสีหลอด จึงพบว่ามันเป็นสีที่กลิ่นดีมาก ตัวทำละลายก็ใช้แค่น้ำกับ alcohol หลังจากศึกษาต่อไปก็พบว่าเป็นสีที่ปลอดภัย ->
http://thaimodel-kit.blogspot.com/search/label/safety
เรียกว่าถ้าเล่นโมเป็นงานอดิเรก (hobby) แล้ว สีนี้น่าจะเป็นสีสูตรหลักสำหรับการทำโมเดลเลย

ซึ่งผมก็เปลี่ยนมาใช้สี acrylic พ่นสีพื้นแทนสี gunze เพราะเหตุผลสองข้อข้างต้น โดยผมได้ผิวสีที่ด้านสนิท และกลิ่นฉุนไม่มารบกวนอีก แต่ก็ยังมีปัญหาเพราะผมทำรถถัง ต้องมีขั้นตอน weathering ด้วย ซึ่งขั้นตอนนี้ปกติต้องใช้สีน้ำมัน หรือสี enamel ที่เหม็นเช่นกัน และมีพิษยิ่งกว่าน้ำยาของสี gunze เสียอีก

3. ไม่นานมานี้ ผมก็มาเจอข้อดีอีกอย่างที่ผมคาดไม่ถึง โดยผมพบแนวการทำสีของ โมเดลเลอร์ฝรั่งท่านหนึ่ง เขาสอนเรื่อง acrylic weathering! ซึ่งช่วยให้ผมนำสี acrylic มาทดแทนทั้งสี gunze และสีน้ำมันได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะการ paint เก็บรายละเอียด ซึ่งสี acrylic ทำได้สบายอยู่แล้ว และการ weathering ซึ่งผมนำมาทดลองทำในบทความนี้ครับ

4. สุดท้ายข้อดีของสี acrylic คือมันแห้งเร็วกว่าสีน้ำมัน ถ้านำมา paint รายละเอียดไม่ทาหนามากสักพักก็แห้งครับ ยิ่งสำหรับการ weathering แล้ว การแห้งเร็วนับเป็นข้อดีคือ เราสามารถทำขั้นตอนต่อๆไปได้ โดยรอไม่กี่นาที จากเดิมที่ถ้าใช้สีน้ำมันต้องรอเป็นชั่วโมงหรือข้ามวัน

ส่วนข้อเสียของสี acrylic ก็มีนะครับ คือสีสูตรนี้พ่นจะให้สีด้านดี แต่สีจะมันวาวสู้สูตรอื่นไม่ได้ อีกอย่างคือการนำสี acrylic มา ทำ filter หรือ wash จะให้ความสวยงามสู้สีน้ำมันไม่ได้ (แต่ถ้าฝึกมากๆน่าจะดีขึ้น) และใช้งานยากกว่า weathering ด้วยสีน้ำมันมาก เพราะสีจะมีแรงตึงผิวมากทำให้เกิดเป็นฟองได้แบบน้ำ เวลาใช้พู่กันก็ต้องระวัง และสีจะแห้งภายในไม่กี่นาที ส่วนการทำรอยถลอก หรือคราบน้ำ สนิมไหล ก็ทำได้ยากเช่นกัน และถ้าทำพลาดอาจแก้ไขไม่ได้

------------------
ก่อนอื่น อุปกรณ์สำคัญของผมคือแผ่น acrylic ครับ แนวคิดก็ได้มาจากเห็นฝรั่งทำในหนังสือ ->
http://thaimodel-kit.blogspot.com/search/label/technics

แผ่น acrylic ที่ว่าคือแผ่นใสหรือมีสีก็ได้ (ถ้าสีขาวจะดี) ที่เอาไว้ตัดทำกล่องครอบโมเดล นำมากรีดด้วย P-cutter เป็นแผ่นเล็กๆ ราว 1x2 นิ้ว ทำไว้เยอะๆ ผมทำไว้เกือบ 30 แผ่น นำมาหัดทำสีซึ่งกว่าผมจะเอาสี acrylic มา weathering ได้ก็หมดไปหลายแผ่น ซึ่งช่วยให้ผมได้ลองเทคนิคใหม่ๆ และเป็นการฝึกเทคนิคไปในตัวด้วยครับ อย่างการทำรอยถลอก ทางน้ำไหล ฝนชะ สนิมไหล ก็อาศัยแผ่นพวกนี้แหละครับ หัดไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเสียโมทั้งตัวในการทดลอง พอหัดจนแน่ใจแล้วก็ทดลองกับโมจริง ...
สำหรับการสาธิต การทำคราบสกปรกด้วยสี acrylic ของผมนะครับ

1. base color - เริ่มต้นนำสีเขียวโทนไหนก็ได้ ผมใช้ field gray พ่นเป็นสีพื้น โดยนำสี Tamiya ผสม Ethanol (หรือจะใช้ X-20A เลยก็ได้)



โดยขั้นตอนสีพื้นนี้ถ้าให้ดีอาจผสม clear gloss ลงไปเล็กน้อยนะครับ (ของ Tamiya ก็มี clear gloss แต่ผมหาไม่ได้เลยใช้ขวดข้างล่างครับ - ขวดนี้ผสมลงไปในสีก็ได้หรือ ผสม Ethanol พ่นแบบ clear มันก็ได้)



2. fading - นำสี desert yellow ผสมกับ field gray ตรงนี้มีทริคนะครับ ให้นำสี desert yellow เป็นหลักก่อน แล้วค่อยๆเติม field gray ลงไปจนเหมือนเริ่มจะมีสีเขียวนิดๆให้พอ ถ้าใส่ต่อไปสีจะเขียวมากเกิน สีที่ผสมแล้วผมลองพ่นเต็มแผ่นตามรูปเป็นตัวอย่างครับ



3. rain mark - หลังจากผสมสีในข้อสองแล้ว นำมาพ่นไล่ครึ่งด้านล่างของแผ่นในข้อ 1.จะทำให้เกิดโทนมิติ เหมือนสีซีดลงจากด้านล่างของแผ่น

สำหรับการทำรอยฝนชะนะครับ ก็นำสีขาวหลอดผสมสีเขียวนิดๆให้ออกเขียวนิดๆแต่ยังเป็นสีค่อนข้างขาวอยู่ แล้วนำมาผสม X-20A ให้จางๆ นำพู่กันจุ่มแล้วปาดสีให้หมาด นำไปจิ้มๆกับทิชชูนิดหน่อยให้เหลือปริมาณสีในพู่กันน้อยที่สุด แล้วปาดลงเป็นแนวตั้ง ทำซ้ำๆโดยอาจมีพู่กันสัก 2 ขนาด ถ้าเป็นพู่กันแบนจะช่วยได้มาก



4. filter - ขั้นตอนนี้เป็นเทคนิคที่ปกติผมจะใช้สีน้ำมันทำครับ แต่หลังจากได้ดูฝรั่งสอนแล้วผมเลยลองนำสี acrylic มาทำบ้าง โดนน้ำสีน้ำตาลหลอด ผมใช้สี Burnt Sienna ผสมน้ำเปล่า (สังเกตว่าขั้นตอนนี้ผมไม่ได้ใช้ X-20A) ผสมจางๆ นำพู่กันจุ่มแล้วปาดหมาดๆ นำมาชะโลมลงบนแผ่นอคริลิคทั่วๆ

ขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่ค่อนข้างต้องฝึกครับ ถ้าสีพื้นมีความมันจะช่วยให้สีที่ filter ไม่ทิ้งคราบเป็นรอย ทริคคือพู่กันต้องค่อนข้างหมาด พอชะโลมแล้วให้ปาดสีไปมาทั่วๆ บริเวณเดียวกันให้ปาดไปมาไม่เกิน 2-3 รอบ ถ้าปาดเยอะเกินสีจะเกลี่ยเท่ากันไปหมด และกลายเป็นรอยแปลง เนื่องจากสี acrylic แห้งไว ถ้าทำแล้วรู้สียังจางไปให้รอให้ชั้นแรกแห้งก่อน อาจทำซ้ำได้อีกสักครั้ง



5. dark wash - ก็คือการ wash สีดำตามร่องครับ โดยผสมสี acrylic แบบหลอดสีดำผสมน้ำตาลนิดๆ แล้วผสมน้ำให้จางๆ (อาจใส่ retarder สัก 1-2 หยด) นำไปหยดลงตามร่องต่างๆ ขั้นตอนนี้ควรมีพู่กันสองอันครับ อันหนึ่งไว้จุ่มสี wash อีกอันไว้เป็นพู่กันสะอาดไว้จุ่มน้ำเปล่าไว้คอย ปัดสีที่เลอะออกมาจากร่อง ออก

ขั้นตอนนี้ตอนแรกผมคิดว่าจะยาก แต่จริงๆแล้วสี acrylic ผสมน้ำจางๆ ใช้ wash ผมว่าไม่ยากไปกว่าสีน้ำมันสักเท่าไหร่ครับ ดีมากๆตรงที่มันแห้งเร็วทำให้
(ขั้นนี้ผมไม่มีภาพนะครับ อาจลองดูจากโมจริงๆที่ผมใช้เทคนิคนี้เลย)

6. chip - หรือรอยถลอกครับ ขั้นตอนนี้ก็น้ำสีน้ำตาลแดง อาจใช้สีหลอดหรือสี Tamiya ก็ได้ บางท่านใช้สี flesh ผสมสีแดง ผสมสีน้ำตาลแดง ผมนำมาทำรอยถลอกด้วยวิธี sponge technic โดยผสมสีข้นพอดีๆ (หยด retarder 1-2 หยดได้เช่นเดิม ถ้าอยากให้ทำงานได้ชิวๆ) นำฟองน้ำจุ่มสี แล้วไปจิ้มๆบนกระดาษทิชชู พอสีติดทิชชูออกไปถึงจุดหนึ่ง จะได้เป็นรอยจุดเล็กๆ พอได้ที่แล้วก็นำไปจิ้มๆบนผิว เกิดรอยถลอก

การทำรอยถลอกนี้อาจใช้พู่กันปลายแหลมค่อยๆจิ้มๆไปก็ได้ครับ ถ้าทำแบบนี้เวลาจิ้มพลาด อาจใช้พู่กันสะอาดจุ่มน้ำชุ่มๆมาละเลงสีที่พลาดให้ละลาย แล้วปาดออกได้ครับ แต่ต้องฝึกและใช้ความเร็วหน่อย ส่วนสีที่เหลือ อาจนำมาผสมน้ำจางๆหน่อย แล้วนำมาทำคราบสนิมไหล แบบตอนทำรอยฝนชะก็ได้


(รอยถลอกมากน้อย หรือมีรอยถลอกแบบสีชั้นในก่อน อันนี้ขึ้นกับความชอบเลยครับ)

หลังจาก weathering เรียบร้อยแล้วก็ paint detail ต่างๆด้วยสี acrylic ได้เช่นกัน แล้วก็ปิดงานด้วย clear ด้าน (มีแบบ acrylic เช่นกัน แต่ใช้ยากหน่อย) ถ้าผิวยังไม่ด้านพอ หรือนำไปตบฝุ่น สาดโคลนกันได้ตามใจชอบเป็นขั้นสุดท้าย
---------------------------
ปกติการใช้สีน้ำมันต้องรอนานมากก่อนทำแต่ละขั้น เพราะถ้าใจร้อนสีจะละลายปนกันในแต่ละชั้น (สีน้ำมันใช้เวลาในการแห้งเป็นวันๆ และถ้าให้แห้งแข็งตัวสนิทใช้เวลาเป็นสัปดาห์) แต่ถ้าใช้สี acrylic อาจรอเพียง 5-10 นาทีก็ทำขั้นตอนต่อไปได้เลย การแห้งเร็วก็ทำให้งานไม่สะดุด และโอกาสฝุ่นปลิวมาติดสีที่ยังไม่แห้งแบบสีน้ำมันก็น้อยลงด้วย

หมดแล้วครับ ขั้นตอนการ weathering จริงๆแล้วมีหลายเทคนิค หลายวิธี ผมเพียงแต่ยกวิธีที่ผมชอบมา ท่านที่ชำนาญอาจทดลองเทคนิคอื่นๆดู และลองสลับขั้นตอนตามความเหมาะสมดูครับ

สำหรับท่านที่สงสัยว่าแล้วถ้าเอาไปทดลองทำกับโมเดลจริงจะเป็นอย่างไร ตอนนี้ผมนำไปทดลองกับ M41 เสร็จไปคันหนึ่งแล้วครับ คิดว่าพอดูได้หรือติดตามไปชมกันแบบเต็มๆก็ได้ครับ



link ชม งาน M41 walker bulldog

ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ19 พฤษภาคม 2556 เวลา 07:15

    ขอบคุณสำหรับเทคนิคดีๆครับ มีประโยชน์มาก

    ตอบลบ