ทำสีโมเดลกันดั้ม แอร์บรัช โมเดล ทำสีโมเดล หนังสงคราม หนังทหาร โมเดล model gundam กันพลา อุปกรณ์ สอน ขาย จำหน่าย วิธี ทำ ประกอบ กันดั้ม เครื่องบิน เรือ รถถัง ฟิกเกอร์ ประกอบ ทำสี ต่อ สร้าง พลาสติก gunpla ตัดเส้น ต่อดิบ คีมตัด หุ่นยนต์ gundamtool 
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=29079.msg231633#msg231633
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ปัญหาที่พบบ่อย ทำโมเดล
หนังสือประวัติศาสตร์ สงคราม ทหาร สงครามโลก
ทำสีโมเดลกันดั้ม แอร์บรัช โมเดล ทำสีโมเดล หนังสงคราม หนังทหาร โมเดล model gundam กันพลา อุปกรณ์ สอน ขาย จำหน่าย วิธี ทำ ประกอบ กันดั้ม เครื่องบิน เรือ รถถัง ฟิกเกอร์ ประกอบ ทำสี ต่อ สร้าง พลาสติก gunpla ตัดเส้น ต่อดิบ คีมตัด gundamtool  - รับชมจบแต่ละหน้าแล้วที่มุมขวาล่างสุด คลิก "บทความที่เก่ากว่า" ยังมีบทความเพิ่มอีกนะครับ - ติดต่อพูดคุย ปรึกษา หรือให้คำแนะนำ ผมได้เลยที่ kit556แอ๊ดgmail.com หรือ comment ในแต่ละบทความ หรือ คลิก ติดต่อแวะชม facebook ผมได้ครับ

สีสำหรับงานโมเดล

เนื้อสีหรือ paint ที่นำมาใช้กันอยู่ หลักๆแล้วมีองค์ประกอบสามส่วนครับ ได้แก่

1.pigment ผงสี เป็นตัวที่ทำให้เกิดสีสัน
2.binder กาวหรือเรซิ่นที่ทำให้ผงสีติดกับผิว
3.dissolvant ของเหลวที่ละลายทั้งผงสีและกาวเรซิ่นได้

ในกาวใช้งาน ทั้ง 3 ส่วนจะละลายอยู่ด้วยกัน พอพ่นหรือทาบนผิวงานแล้ว dissolvant จะระเหยออกไปจนหมด เหลือเพียง ผงสีกับกาวเคลือบติดอยู่บนผิว

ยกตัวอย่างสีในชีวิตประจำวันที่เราๆท่านๆ น่าจะเคยผ่านมือมา บางสีก็ใช้ตอนเด็กๆได้แก่



- Tempera สีดึกดำบรรพ์ที่สุดคือสีผงครับ ย้อนกลับไปแทบจะเริ่มแรกของงานจิตกรรมเลย อย่างพวกงานเขียน last supper ตามผนังวิหารฝรั่ง ก็ใช้สีแบบนี้ แต่ผงสีนี่เวลาใช้ก็ไม่ได้ป้ายลงไปบนผิวงานโดยตรงได้ ศิลปินต้องนำมาละลาย น้ำ กาว (สมัยก่อนใช้ไข่แดง) ตามแต่จะหาได้ก่อน แล้วค่อยนำไปวาด ศิลปะแบบ fresco ซึ่งเป็นการเขียนภาพลงบนปูนเปียกก็ใช้สีผงนี้เช่นกันโดยใช้ผงสีวาดขณะที่ปูนบนผนังยังไม่แห้ง พอแห้งแล้วสีจะฝังในเนื้อปูนทำให้ติดทนทาน

- Pastel สีชอร์ค คือ ผงสีนำมาอัดแท่ง หรืออาจผสมขี้ผึ้งบ้าง เวลาใช้งานก็กดเขียนลงบนกระดาษที่หยาบเล็กน้อย จะให้ลักษณะสีคล้ายสีผง แต่ใช้งานง่ายกว่า
- Oil color สีน้ำมัน คือ ผงสี + เรซิ่น นำมาละลายในน้ำมัน เช่น linseed oil จัดเป็นสีที่มีประวัติยาวนาน ถ้าเฉพาะสำหรับงานโมเดลก็เรียกว่าเป็นสีสูตรแรกเลยที่นำมาใช้ ก่อนที่สี acrylic จะแพร่หลาย
- Oil pastel สีเทียน คือ ผงสีอัดแท่ง ผสมน้ำมัน ถ้าจำไม่ผิดถูกประดิษฐ์ในประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้เด็กใช้งานโดยเฉพาะ เป็นสีที่ใช้งานง่ายแต่ไม่เลอะเทอะ
- Water color หรือสีน้ำ คือผงสี + น้ำ สีน้ำสูตรโบราณที่สุดคือสีน้ำ ที่วาดด้วยพู่กันจีน ภาพสีน้ำยุคแรกจะมีเฉพาะสีดำ ใช้ฝนผงหมึกแล้วละลายน้ำ วาดด้วยพู่กัน ต่อมามีการผลิตเป็นสีหลอด เหมาะกับเด็กเพราะใช้งานง่าย และไม่มีตัวทำละลายที่มีพิษ ส่วนศิลปินที่ใช้สีน้ำต้อง อาศัยการฝึกฝน เพราะสีน้ำแห้งเร็วมาก และไม่สามารถใช้เทคนิคใดๆได้ เกลี่ยสีไม่ได้ และทาทับก็ไม่ได้ เพราะจะเกิดสีเน่า (นึกถึงตอนเด็กๆที่ระบายสีน้ำ ซ้ำๆลงไปบนกระดาษจุดเดิม)
- Crayon หรือดินสอสี คือผงสีผสมขี้ผึ้ง หรือสารอื่นๆ อัดเป็นแท่งดินสอ บางสูตรสามารถละลายน้ำได้ เอาพู่กันจุ่มน้ำทาจะละลายเหมือนสีน้ำ
- Poster color คือผงสี + น้ำ + กาวเป็นตัว binder
- Acrylic color เป็นสีที่ใหม่ที่สุด ประกอบไปด้วย ผงสี + acrylic (PMMA) หรือเรซิ่น แลคเกอร์สังเคราะห์ เป็น binder + ตัวทำละลายอาจเป็นกลุ่ม hydrophobic (ไม่ละลายน้ำ) หรือ hydrophilic (ละลายน้ำ) ก็ได้



ทีนี้ถ้าดูเฉพาะสีหลักๆที่นำมาทำโมเดลได้แก่

1. สีน้ำมัน สี enamel ในการใช้งานแล้วสีน้ำมันเป็นชื่อเรียกทีสับสนน้อยที่สุด เพราะเรียกตามตัวทำละลาย จริงๆแล้วสีน้ำมัน อย่างสีกลุ่ม Enamel ก็ประกอบไปด้วย ผงสี + acrylic ทำหน้าที่เป็นเรซิ่น หรือสารยึดเกาะ + ตัวทำละลาย ดังนั้นสีน้ำมันจึงละลายได้ใน น้ำมันยางสน turpentine ,mineral spirit ,OMS odorless mineral spirit ,linseed oil หรือแม้แต่น้ำมันไฟแช็ค เพราะมันก็คือกลุ่มน้ำมันปิโตรเลียมชนิดหนึ่ง อาจเรียกสีสูตรนี้ได้ว่าคือ "acrylic enamel"

2. สีแลคเกอร ประกอบด้วยผงสี และเรซิ่นซึ่งอาจเป็น acrylic หรือ แลคเกอร์สังเคราะห์ (synthetic lacquer) ละลายในตัวทำลายต่างๆ อย่างเช่นกลุ่ม alkyl esters (butyl,amyl acetate) , กลุ่ม ketone (acetone, myethyl ethyl ketone) หรือ toluene อาจเรียกได้ว่าสีสูตรนี้คือ "solvent-based acrylic lacquer"

3. สี acrylic ที่เรียกกันแบบง่ายๆ ตามความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจ จะเป็นผงสี + acrylic + water soluble dissolvant หรืออาจได้เรียกว่า "สี acrylic" ตามที่เรียกกัน คือ สีที่ใช้ acrylic เป็น binder โดยอาศัยตัวทำละลายที่ละลายน้ำได้ เช่น alcohol อาจเรียกสีสูตรนี้ว่า "water-based acrylic lacquer" หรือ "aqueous acrylic lacquer"

ส่วนคำว่า acrylic เจ้าปัญหา จะเห็นว่าจริงๆแล้วมันคือตัว binder ที่อยู่ในสีทั้งสามกลุ่มหลัก ไม่ว่าจะเป็นสีน้ำมัน สี acrylic หรือสีแลคเกอร์ ตัว acrylic นี้จริงๆแล้วคือ กลุ่มสารที่เป็น derivative ของ acrylic acid ตัวที่เก่าแก่ นิยมกันมากคือ PMMA หรือ Poly(methyl methacrylate) ซึ่งมันก็คือ เรซิ่น (ของแข็งที่โปร่งแสง) ชนิดหนึ่ง ที่คนเล่นโมคุ้นเคยได้แก่แผ่น acrylic ใส ที่เราซื้อกันตามร้านเครื่องเขียน นำมาตัดเป็นกล่องครอบโมเดล ตัว PMMA นี้สามารถละลายด้วย Dichloromethane ซึ่งก็คือน้ำยาเชื่อม acrylic ที่ซื้อได้ตามร้านเครื่องเขียน

สี acrylic จัดเป็นสียุคใหม่ในบรรดาสีทั้งหมด (แต่จริงๆก็มีใช้ตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง) โดยเริ่มจากนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้สังคราะห์ PMMA ขึ้นมา หลังจากนั้นแผ่น acrylic ซึ่งมีคุณสมบัติแข็ง ใส แต่มีน้ำหนักเบากว่ากระจก ก็ถูกนำไปใช้เป็นส่วนประกอบต่างๆ เช่นใช้แทนกระจกในเรือดำน้ำ ไปจนถึงหน้าต่างเครื่องบิน นอกจากนี้ยังถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมของสีที่เราใช้กับงานโมเดลในปัจจุบัน

ที่นี้ก็เป็นที่น่าสับสนว่าในเมื่อ acrylic (PMMA) ถูกใช้เป็น binder กับสีทุกกลุ่มไม่ว่าจะสีน้ำมัน สีแลคเกอร์ และสี acrylic สูตรน้ำ ทำไมสีบางสูตรก็ละลายน้ำได้ บางสูตรก็ละลายน้ำไม่ได้ (อย่างสีน้ำมัน) คำตอบก็คือเพราะจริงๆแล้ว PMMA เป็นสารที่ไม่ละลายน้ำครับ แต่มีการเติมสาร emulsifier ลงไป ทำให้ สี acrylic (aquerous arylic lacquer) ที่เราใช้กลายสภาพเป็นสารแขวนลอย โดยมี PMMA เป็นของแข็งที่แขวนลอยอยู่ในน้ำ (คล้ายๆกับไข่แดงหรือเลซิติน ทำหน้าที่เป็น emulsifier ทำให้ไช่ขาวละลายน้ำได้ กลายเป็นน้ำมันสลัด)

ส่วนอีกคำที่ทำให้สับสนคือคำว่า แลคเกอร์ (lacquer) หรือ resin ตามความหมายโบราณจริงๆคือ น้ำยางไม้ครับ ผลิตภัณฑ์ ไม้อย่างเครื่องเคลือบแลคเกอร์ (lacquerware) ก็คือไม้เคลือบยางไม้ นั่นเอง อีกตัวอย่างคืออำพัน ซึ่งเป็นยางไม้ที่แข็งตัวก็เป็นเรซิ่นชนิดหนึ่ง ต่อมาความหมายก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ จน lacquer เปลี่ยนมาหมายถึงของแข็งที่โปร่งแสง ไม่ได้หมายถึงยางไม้ธรรมชาติแบบดั้งเดิม บางคนใช้คำว่า synthetic lacquer เพื่อป้องกันความสับสน อย่าง acrylic (PMMA) ก็เป็นแลคเกอร์ หรือเรซิ่น ตามความหมายนี้ โดยทำหน้าที่เป็น binder ในเนื้อสี

คำที่ทำให้สับสนสุดท้ายคือคำว่า ทินเนอร์ (thinner) แปลตามตัวคือ ตัวเจือจาง หรือทำให้เหลว (thin คือ จาง,บาง ) ส่วนมากช่างในไทยเรียก ทินเนอร์ จะหมายถึง acrylic lacquer thinner ซึ่งเป็นตัวเจือจางสีชนิด solvent-based acrylic lacquer

ถึงแม้ว่า lacquer thinner จะทำละลายสีทั้งสีแลคเกอร์ และสี acrylic ได้ แต่เนื่องจากวัตถุประสงของสีสูตรที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายคือเรื่องสุขภาพ ดังนั้น ถ้าใช้สีสูตรไหนควรใช้ทินเนอร์ตามที่ผู้ผลิตแนะนำ (ส่วนมากก็ทำออกมาขายด้วย) และถ้าใช้สี acrylic สูตรน้ำ ก็ควรใช้น้ำหรือ alcohol (X-20A คือ Isopropyl alcohol เกิน 50%) เป็นตัวทำละลายเพื่อป้องกันผลกระทบทางสุขภาพ

-------------------------
กล่าวโดยสรุป

- สี enamel คือ acrylic enamel
- สีแลอเกอร์ คือ solvent-based acrylic lacquer
- สีอคริลิค คือ water-based acrylic lacquer
- แลคเกอร์ หรือ เรซิ่น (สังเคราะห์) หรือของแข็งไม่มีสี ความสำคัญสำหรับงานโมเดล คือถูกใช้เป็นกาว (binder) ในเนื้อสีสูตรต่างๆ
- สีสูตรต่างๆมีความแตกต่างกันในเรื่องของ ระยะเวลาในการแห้ง และแข็งตัว (drying and curing time) ซึ่งทำให้ความเหมาะสมในการใช้สำหรับงานแต่ละแบบต่างกันไป
- สำหรับในแง่สุขภาพแล้ว สีสูตรน้ำมัน ซึ่งใช้ตัวทำละลายเป็น linseed oil และสารกลุ่ม turpentine เป็นอันตรายที่สุด สีที่ใช้ตัวทำละลายเป็น alcohol และน้ำปลอดภัยที่สุด (เทียบกันเฉพาะสีสำหรับงานโมเดล) ส่วนตัวทำละลายจำพวก toluene ,alkyl ester ,ketone ส่วนมากมีอันตรายตั้งแต่ระคายเคือง ไปจนถึงเป็นสารก่อมะเร็ง
- สีแต่ละสูตร มีคุณสมบัติต่างกัน เช่นความเงางาม ความแข็งแรงบนพื้นผิวเวลาแห้งแล้ว ผงสีบางขนิดไม่ละลายในตัวทำละลายบางประเภท เช่นสี fluorescent ไม่ละลายในน้ำมัน ดังนั้นจึงไม่มีสีสูตร enamel ที่เป็นสีเรืองแสง
- ไม่มีสีสูตรใดจัดเป็นสีสูตรดีที่สุด เพราะแต่ละประเภทมีข้อดีข้อเสีย ถ้าเน้นเรื่องสุขภาพต้องใช้สูตรที่ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย แต่ถ้าต้องการเน้นสีที่ทนทาน เงางาม ใช้งานง่าย สีกลุ่ม สีแลคเกอร์จะดีกว่า ส่วนสีน้ำมัน มีคุณสมบัติแห้งช้า แข็งตัวช้าที่สุด (เป็นสัปดาห์อย่างต่ำ) เนื้อสีเหนียวแน่นหนา เหมาะกับการทาพู่กัน หรือเทคนิคที่ไม่ต้องการให้สีแห้งเร็วเกินไป ถ้าเป็นงานภาพวดจะเรียกว่า wet on wet หมายถึงทาสีที่สองลงไปทับสีแรกที่อยู่ข้างกัน สีทั้งสองจะละลายเข้าหากัน คล้ายกับว่าเราสามารถเกลี่ยนสีน้ำมันที่ยังไม่แห้ง ให้เกิดการผสมสีเข้าหากัน สีจะละมุนเป็นเฉดสี แทนที่จะเกิดขอบตัด

---------------------

ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ ผมรวบรวมมาจากหลายๆ web จำไม่ได้แล้ว นั่งเขียนคนเดียว อาจมีผิดพลาดทั้งจากแปลมาผิด หรือความเข้าใจผิดของผมเอง ต้องขออภัย ถ้ารบกวนชี้แนะได้จะดีมาครับ ผมจะรวบรวมเนื้อหาทั้งหมด จากหลายๆที่ มาเรียบเรียงหัวข้อ ให้อ่านง่ายและใส่ภาพประกอบ อีกครั้งถ้ามีโอกาส

1 ความคิดเห็น:

  1. เยี่ยมเลยครับ
    จริงๆ กำลังสนใจสีของทามิย่าอยู่เหมือนกัน ไม่เคยลองใช้เลย

    ตอบลบ