= acrylics weathering
สวัสดีครับ วันนี้นำเทคนิคที่ผมกำลังหัดอยู่มาฝากครับ
เนื่องจากผมกำลังศึกษาเกี่ยวกับสีสูตร acrylic (สูตรน้ำ) ->
http://thaimodel-kit.blogspot.com/search/label/acrylic
ซึ่งผมพบว่ามันน่าสนใจมากครับ ข้อดีคร่าวๆดังนี้
1. เป็นเพราะว่าผมเล่นแนวรถถังเป็นหลักสี acrylic จะให้สีด้านที่เรียบเนียนมาก โดยไม่ต้องผสมอะไรเพิ่มเลย เหมาะกับคนชอบสีด้านมาก
2. หลังมีโอกาสทดลองใช้สี acrylic ของ Tamiya และสีหลอด จึงพบว่ามันเป็นสีที่กลิ่นดีมาก ตัวทำละลายก็ใช้แค่น้ำกับ alcohol หลังจากศึกษาต่อไปก็พบว่าเป็นสีที่ปลอดภัย ->
http://thaimodel-kit.blogspot.com/search/label/safety
เรียกว่าถ้าเล่นโมเป็นงานอดิเรก (hobby) แล้ว สีนี้น่าจะเป็นสีสูตรหลักสำหรับการทำโมเดลเลย
ซึ่งผมก็เปลี่ยนมาใช้สี acrylic พ่นสีพื้นแทนสี gunze เพราะเหตุผลสองข้อข้างต้น โดยผมได้ผิวสีที่ด้านสนิท และกลิ่นฉุนไม่มารบกวนอีก แต่ก็ยังมีปัญหาเพราะผมทำรถถัง ต้องมีขั้นตอน weathering ด้วย ซึ่งขั้นตอนนี้ปกติต้องใช้สีน้ำมัน หรือสี enamel ที่เหม็นเช่นกัน และมีพิษยิ่งกว่าน้ำยาของสี gunze เสียอีก
3. ไม่นานมานี้ ผมก็มาเจอข้อดีอีกอย่างที่ผมคาดไม่ถึง โดยผมพบแนวการทำสีของ โมเดลเลอร์ฝรั่งท่านหนึ่ง เขาสอนเรื่อง acrylic weathering! ซึ่งช่วยให้ผมนำสี acrylic มาทดแทนทั้งสี gunze และสีน้ำมันได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะการ paint เก็บรายละเอียด ซึ่งสี acrylic ทำได้สบายอยู่แล้ว และการ weathering ซึ่งผมนำมาทดลองทำในบทความนี้ครับ
4. สุดท้ายข้อดีของสี acrylic คือมันแห้งเร็วกว่าสีน้ำมัน ถ้านำมา paint รายละเอียดไม่ทาหนามากสักพักก็แห้งครับ ยิ่งสำหรับการ weathering แล้ว การแห้งเร็วนับเป็นข้อดีคือ เราสามารถทำขั้นตอนต่อๆไปได้ โดยรอไม่กี่นาที จากเดิมที่ถ้าใช้สีน้ำมันต้องรอเป็นชั่วโมงหรือข้ามวัน
ส่วนข้อเสียของสี acrylic ก็มีนะครับ คือสีสูตรนี้พ่นจะให้สีด้านดี แต่สีจะมันวาวสู้สูตรอื่นไม่ได้ อีกอย่างคือการนำสี acrylic มา ทำ filter หรือ wash จะให้ความสวยงามสู้สีน้ำมันไม่ได้ (แต่ถ้าฝึกมากๆน่าจะดีขึ้น) และใช้งานยากกว่า weathering ด้วยสีน้ำมันมาก เพราะสีจะมีแรงตึงผิวมากทำให้เกิดเป็นฟองได้แบบน้ำ เวลาใช้พู่กันก็ต้องระวัง และสีจะแห้งภายในไม่กี่นาที ส่วนการทำรอยถลอก หรือคราบน้ำ สนิมไหล ก็ทำได้ยากเช่นกัน และถ้าทำพลาดอาจแก้ไขไม่ได้
------------------
ก่อนอื่น อุปกรณ์สำคัญของผมคือแผ่น acrylic ครับ แนวคิดก็ได้มาจากเห็นฝรั่งทำในหนังสือ ->
http://thaimodel-kit.blogspot.com/search/label/technics
แผ่น acrylic ที่ว่าคือแผ่นใสหรือมีสีก็ได้ (ถ้าสีขาวจะดี) ที่เอาไว้ตัดทำกล่องครอบโมเดล นำมากรีดด้วย P-cutter เป็นแผ่นเล็กๆ ราว 1x2 นิ้ว ทำไว้เยอะๆ ผมทำไว้เกือบ 30 แผ่น นำมาหัดทำสีซึ่งกว่าผมจะเอาสี acrylic มา weathering ได้ก็หมดไปหลายแผ่น ซึ่งช่วยให้ผมได้ลองเทคนิคใหม่ๆ และเป็นการฝึกเทคนิคไปในตัวด้วยครับ อย่างการทำรอยถลอก ทางน้ำไหล ฝนชะ สนิมไหล ก็อาศัยแผ่นพวกนี้แหละครับ หัดไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเสียโมทั้งตัวในการทดลอง พอหัดจนแน่ใจแล้วก็ทดลองกับโมจริง ...
สำหรับการสาธิต การทำคราบสกปรกด้วยสี acrylic ของผมนะครับ
1. base color - เริ่มต้นนำสีเขียวโทนไหนก็ได้ ผมใช้ field gray พ่นเป็นสีพื้น โดยนำสี Tamiya ผสม Ethanol (หรือจะใช้ X-20A เลยก็ได้)
โดยขั้นตอนสีพื้นนี้ถ้าให้ดีอาจผสม clear gloss ลงไปเล็กน้อยนะครับ (ของ Tamiya ก็มี clear gloss แต่ผมหาไม่ได้เลยใช้ขวดข้างล่างครับ - ขวดนี้ผสมลงไปในสีก็ได้หรือ ผสม Ethanol พ่นแบบ clear มันก็ได้)
2. fading - นำสี desert yellow ผสมกับ field gray ตรงนี้มีทริคนะครับ ให้นำสี desert yellow เป็นหลักก่อน แล้วค่อยๆเติม field gray ลงไปจนเหมือนเริ่มจะมีสีเขียวนิดๆให้พอ ถ้าใส่ต่อไปสีจะเขียวมากเกิน สีที่ผสมแล้วผมลองพ่นเต็มแผ่นตามรูปเป็นตัวอย่างครับ
3. rain mark - หลังจากผสมสีในข้อสองแล้ว นำมาพ่นไล่ครึ่งด้านล่างของแผ่นในข้อ 1.จะทำให้เกิดโทนมิติ เหมือนสีซีดลงจากด้านล่างของแผ่น
สำหรับการทำรอยฝนชะนะครับ ก็นำสีขาวหลอดผสมสีเขียวนิดๆให้ออกเขียวนิดๆแต่ยังเป็นสีค่อนข้างขาวอยู่ แล้วนำมาผสม X-20A ให้จางๆ นำพู่กันจุ่มแล้วปาดสีให้หมาด นำไปจิ้มๆกับทิชชูนิดหน่อยให้เหลือปริมาณสีในพู่กันน้อยที่สุด แล้วปาดลงเป็นแนวตั้ง ทำซ้ำๆโดยอาจมีพู่กันสัก 2 ขนาด ถ้าเป็นพู่กันแบนจะช่วยได้มาก
4. filter - ขั้นตอนนี้เป็นเทคนิคที่ปกติผมจะใช้สีน้ำมันทำครับ แต่หลังจากได้ดูฝรั่งสอนแล้วผมเลยลองนำสี acrylic มาทำบ้าง โดนน้ำสีน้ำตาลหลอด ผมใช้สี Burnt Sienna ผสมน้ำเปล่า (สังเกตว่าขั้นตอนนี้ผมไม่ได้ใช้ X-20A) ผสมจางๆ นำพู่กันจุ่มแล้วปาดหมาดๆ นำมาชะโลมลงบนแผ่นอคริลิคทั่วๆ
ขั้นตอนนี้เป็นส่วนที่ค่อนข้างต้องฝึกครับ ถ้าสีพื้นมีความมันจะช่วยให้สีที่ filter ไม่ทิ้งคราบเป็นรอย ทริคคือพู่กันต้องค่อนข้างหมาด พอชะโลมแล้วให้ปาดสีไปมาทั่วๆ บริเวณเดียวกันให้ปาดไปมาไม่เกิน 2-3 รอบ ถ้าปาดเยอะเกินสีจะเกลี่ยเท่ากันไปหมด และกลายเป็นรอยแปลง เนื่องจากสี acrylic แห้งไว ถ้าทำแล้วรู้สียังจางไปให้รอให้ชั้นแรกแห้งก่อน อาจทำซ้ำได้อีกสักครั้ง
5. dark wash - ก็คือการ wash สีดำตามร่องครับ โดยผสมสี acrylic แบบหลอดสีดำผสมน้ำตาลนิดๆ แล้วผสมน้ำให้จางๆ (อาจใส่ retarder สัก 1-2 หยด) นำไปหยดลงตามร่องต่างๆ ขั้นตอนนี้ควรมีพู่กันสองอันครับ อันหนึ่งไว้จุ่มสี wash อีกอันไว้เป็นพู่กันสะอาดไว้จุ่มน้ำเปล่าไว้คอย ปัดสีที่เลอะออกมาจากร่อง ออก
ขั้นตอนนี้ตอนแรกผมคิดว่าจะยาก แต่จริงๆแล้วสี acrylic ผสมน้ำจางๆ ใช้ wash ผมว่าไม่ยากไปกว่าสีน้ำมันสักเท่าไหร่ครับ ดีมากๆตรงที่มันแห้งเร็วทำให้
(ขั้นนี้ผมไม่มีภาพนะครับ อาจลองดูจากโมจริงๆที่ผมใช้เทคนิคนี้เลย)
6. chip - หรือรอยถลอกครับ ขั้นตอนนี้ก็น้ำสีน้ำตาลแดง อาจใช้สีหลอดหรือสี Tamiya ก็ได้ บางท่านใช้สี flesh ผสมสีแดง ผสมสีน้ำตาลแดง ผมนำมาทำรอยถลอกด้วยวิธี sponge technic โดยผสมสีข้นพอดีๆ (หยด retarder 1-2 หยดได้เช่นเดิม ถ้าอยากให้ทำงานได้ชิวๆ) นำฟองน้ำจุ่มสี แล้วไปจิ้มๆบนกระดาษทิชชู พอสีติดทิชชูออกไปถึงจุดหนึ่ง จะได้เป็นรอยจุดเล็กๆ พอได้ที่แล้วก็นำไปจิ้มๆบนผิว เกิดรอยถลอก
การทำรอยถลอกนี้อาจใช้พู่กันปลายแหลมค่อยๆจิ้มๆไปก็ได้ครับ ถ้าทำแบบนี้เวลาจิ้มพลาด อาจใช้พู่กันสะอาดจุ่มน้ำชุ่มๆมาละเลงสีที่พลาดให้ละลาย แล้วปาดออกได้ครับ แต่ต้องฝึกและใช้ความเร็วหน่อย ส่วนสีที่เหลือ อาจนำมาผสมน้ำจางๆหน่อย แล้วนำมาทำคราบสนิมไหล แบบตอนทำรอยฝนชะก็ได้
(รอยถลอกมากน้อย หรือมีรอยถลอกแบบสีชั้นในก่อน อันนี้ขึ้นกับความชอบเลยครับ)
หลังจาก weathering เรียบร้อยแล้วก็ paint detail ต่างๆด้วยสี acrylic ได้เช่นกัน แล้วก็ปิดงานด้วย clear ด้าน (มีแบบ acrylic เช่นกัน แต่ใช้ยากหน่อย) ถ้าผิวยังไม่ด้านพอ หรือนำไปตบฝุ่น สาดโคลนกันได้ตามใจชอบเป็นขั้นสุดท้าย
---------------------------
ปกติการใช้สีน้ำมันต้องรอนานมากก่อนทำแต่ละขั้น เพราะถ้าใจร้อนสีจะละลายปนกันในแต่ละชั้น (สีน้ำมันใช้เวลาในการแห้งเป็นวันๆ และถ้าให้แห้งแข็งตัวสนิทใช้เวลาเป็นสัปดาห์) แต่ถ้าใช้สี acrylic อาจรอเพียง 5-10 นาทีก็ทำขั้นตอนต่อไปได้เลย การแห้งเร็วก็ทำให้งานไม่สะดุด และโอกาสฝุ่นปลิวมาติดสีที่ยังไม่แห้งแบบสีน้ำมันก็น้อยลงด้วย
หมดแล้วครับ ขั้นตอนการ weathering จริงๆแล้วมีหลายเทคนิค หลายวิธี ผมเพียงแต่ยกวิธีที่ผมชอบมา ท่านที่ชำนาญอาจทดลองเทคนิคอื่นๆดู และลองสลับขั้นตอนตามความเหมาะสมดูครับ
สำหรับท่านที่สงสัยว่าแล้วถ้าเอาไปทดลองทำกับโมเดลจริงจะเป็นอย่างไร ตอนนี้ผมนำไปทดลองกับ M41 เสร็จไปคันหนึ่งแล้วครับ คิดว่าพอดูได้หรือติดตามไปชมกันแบบเต็มๆก็ได้ครับ
link ชม งาน M41 walker bulldog
ขอบคุณที่ติดตามอ่านครับ
ทำสีโมเดลกันดั้ม แอร์บรัช โมเดล ทำสีโมเดล หนังสงคราม หนังทหาร โมเดล model gundam กันพลา อุปกรณ์ สอน ขาย จำหน่าย วิธี ทำ ประกอบ กันดั้ม เครื่องบิน เรือ รถถัง ฟิกเกอร์ ประกอบ ทำสี ต่อ สร้าง พลาสติก gunpla ตัดเส้น ต่อดิบ คีมตัด หุ่นยนต์ gundamtool
ทำสีโมเดลกันดั้ม แอร์บรัช โมเดล ทำสีโมเดล หนังสงคราม หนังทหาร โมเดล model gundam กันพลา อุปกรณ์ สอน ขาย จำหน่าย วิธี ทำ ประกอบ กันดั้ม เครื่องบิน เรือ รถถัง ฟิกเกอร์ ประกอบ ทำสี ต่อ สร้าง พลาสติก gunpla ตัดเส้น ต่อดิบ คีมตัด gundamtool
- รับชมจบแต่ละหน้าแล้วที่มุมขวาล่างสุด คลิก "บทความที่เก่ากว่า" ยังมีบทความเพิ่มอีกนะครับ
- ติดต่อพูดคุย ปรึกษา หรือให้คำแนะนำ ผมได้เลยที่ kit556แอ๊ดgmail.com หรือ comment ในแต่ละบทความ หรือ คลิก ติดต่อแวะชม facebook ผมได้ครับ
M41 Walker bulldog 1/35 Tamiya tank model
M41 Walker bulldog 1/35 Tamiya scale model
สวัสดีครับ นำงานรถถัง 1/35 คันแรกมานำเสนอ
---------------------------------------
ประวัติรถถัง M41
M41 เป็นรถถังเบาของอเมริกัน เริ่มปรากฎตัวในปี 1951 ใช้พลหทาร 4 คนควบคุม มีน้ำหนัก 25.9 ตันยาวประมาณ 8.2 เมตร กว้าง 5.8 เมตร เครื่องยนต์มีกำลัง 500 แรงม้า ทำความเร็วสูงสุด 72 km/hr.
จัดเป็นรถถังยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยติดตั้งปืนขนาด 76มม. เพื่อทดแทนรถถัง M24 Chaffee โดยปรับปรุงป้อมปืนให้แข็งแรง ระบบควบคุมการยิงและการบรรจุกระสุนใหม่ ชื่อ Walker Bulldog ได้รับการตั้งตามนายพล W.W.Walker ซึ่งเสียชีวิตในสงครามเกาหลี
พลขับนั่งที่ด้านหน้าซ้าย และสามารถมองผ่านกล้อง pericscope สามตัว ด้านล่างมีช่องทางหนีฉุกเฉิน ส่วนผู้บัญชาการรถถังและพลยิง นั่งด้านขวา ส่วนพลบรรจุกระสุนนั่งด้านหลังซ้าย พลยิงจะสามารถมองผ่านกล้องซึ่งติดตั้ง 360 องศา
รถถัง M41 เริ่มถูกทดลองใช้และพัฒนาในช่วงสงครามเกาหลี โดยทางกองทัพอเมริกันต้องการรถถัง ขนาดเขาที่สามารถลำเลียงทางอากาศ และต้องมีสมรรถณะที่ทัดเทียมกับรถถังรัสเซีย แต่มี M41 ใช้งานในสงครามเกาหลีน้อยมาก รถถัง M41 จะมีบทบาทมากขึ้น และประสบความสำเร็จอย่างมากในสงครามเวียดนาม โดยในปี 1964 M41 ได้รับการบรรจุเป็นรถถังหลักทดแทน M24 Chaffee โดยส่งมอบให้ ARVN (Army of the Republic of Vietnam - กองกำลังเวียดนามใต้ภายใต้การสนับสนุนของอเมริกัน) ซึ่งด้วยความน่าเชื่อถือของเครื่องยนต์ การควบคุมได้ง่าย และขนาดที่พอเหมาะกับภูมิประเทศ ทำให้ M41 มีบทบาทในปฎิบัติการสำคัญๆหลายครั้ง
M41 ยังได้เข้าประจำการในกองทัพของหลายประเทศได้แก่ บราซิล 300 คัน สเปน 180 ไต้หวัน 675 คัน นอกจากนี้ M41 ยังได้เข้าประจำกองทัพไทยจำนวน 200 คัน ซึ่งมีบทบาทออกแสดงในงานวันเด็กหลายปีติดๆกัน และบางโอกาสพิเศษก็ออกแสดงวิ่งเป็นแถวรอบทำเนียบด้วย ก่อนจะเพิ่งปลดประจำการไปเมื่อไม่นานมานี้
---------------------------------------
แนวคิดทำสี color modulation
สำหรับแนวการทำสีนะครับ คันนี้ประกอบแบบตามกล่องเลย ไม่ได้ดัดแปลงใดๆ โมเดลของ Tamiya ต่อง่ายและลงตัวมากๆ ส่วนเทคนิค color modulation นี้เป็นเทคนิคที่ผมชอบมาก หัดมาหลายคันแล้วและคันนี้ก็ทดลองทำอีกครับ ... พูดถึงเทคนิคนี้แล้ว เคยอ่านจากกระทู้ของคุณ Totekkopf กล่าวไว้ว่าเป็นเทคนิคที่ประยุกต์มาจากศิลปะแนว Romanticism (ศิลปะจินตนิยม) ผมสงสัยเลยลองไปอ่านดูครับ ว่าศิลปะแนวนี้คืออะไร
ออกตัวก่อนว่าแนวคิดผมคือ ผมมองโมเดลเป็นองค์ประกอบหลายๆอย่างนะครับ ทั้งงานศิลปะ งานประดิษฐิ์ งานออกแบบ วางแผน ซึ่งการทำโมสักตัวก็ใช้หลายๆอย่าง ส่วนผมเองชอบให้น้ำหนักกับมุมมองแบบที่เห็นโมเดลเป็นงานศิลปะครับ ผมอยากให้โมเดลเป็นงานที่แสดงออกถึงอารมณ์ของผม แม้ว่างานโมเดลจะต้องมีการใช้ความคิด การวางแผน การวางองค์ประกอบเป็นขั้นเป็นตอน แต่สุดท้ายแล้ว การตวัดพู่กัน เร็ว ช้า ความอ่อนเข้มของสี การใส่เทคนิค มาก น้อย หรือทำอะไรแบบไหนก็เป็นส่วนที่เว้นว่างไว้ให้ปลดปล่อยอารมณ์ออกมาได้ ซึ่งผมก็สังเกตว่างานโมเดลแต่ละคนที่ทำกันเก่งๆถึงแม้ใช้เทคนิคคล้ายกัน ขั้นตอนคล้ายกัน แต่งานจะออกมาไม่เหมือนกัน คล้ายกับว่ามองปุ๊ปก็พอจะรู้ว่างานของใคร เหมือนมีลายเซ็นต์กำกับอยู่ในตัวงาน
กลับมาที่งานแนวจินตนิยมนะครับ ผมอ่านจาก web
http://th-th.facebook.com/note.php?note_id=165640046803783
ซึ่งเขียนไว้ดีมาก สรุปคร่าวๆคือ งานศิลปะแนวนี้เป็นงานในยุค modern ซึ่ง อยู่ในยุคถัดจากงานแนว neo-classic ที่เน้นความสมจริงของภาพ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางศิลปะ แต่งานแนว Romanticism จะให้ความสำคัญกับอารมณ์มากกว่าโดยพยายามเร้าสะเทือนอารมณ์ของผู้ชม เช่นการตัดกันของน้ำหนัก แสงเงา ความสว่างและความมืด
งานแนวนี้มีขึ้นในยุคครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นช่วงของการปฎิวัติอุตสาหกรรม โดยเป็นการต่อต้านแนวความคิดแบบเดิมและอีกอย่างการเริ่มมีกล้องถ่ายรูป ทำให้ศิลปะแนว classic แบบเดิมเสื่อมความนิยม เป็นรอยต่อที่ศิลปะเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ที่เน้นการแสดงออกของศิลปินแบบปัจเจกบุคคล และไม่ศิลปะไม่จำเป็นต้องรับใช้ทุน การเมือง หรือศาสนาอีกต่อไป
ภาพที่มีชื่อเสียงมากและถือเป็นตัวแทนของศิลปะแนวนี้คือภาพชื่อ The Raft of the "Medusa" - แพเมดูซา โดย เดอลาครัว
ภาพสะท้อนเรื่องจริงในยุคนั้น เกี่ยวกับเหตุการณ์เรือแตกและมีลูกเรือติดอยู่บนเรือโดยไม่มีใครรู้ว่าจะรอดถึงฝั่งหรือไม่ ศิลปินเน้นแสงสว่างและมืดที่ตัดกันจำนวนมาก และอารมณ์ของผู้คนบนแพที่มีทั้งมีหวังและสิ้นหวัง
ภาพอื่นๆนะครับ
ส่วนภาพนี้ผมชอบ ลองคลิ๊กดูแบบขยายได้ตาม link ข้างล่างครับ ->
ขยายภาพ
ดูแล้วเหมือนจะเป็นภาพถ่าย แต่ดูดีๆจะพบว่าภาพวาดภาพนี้ยังคงความสมจริงขององค์ประกอบทางกายภาพ อยู่ทั้งคน เรือ และสิ่งแวดล้อม แต่มีการเน้นสีแสงที่ให้อารมณ์มากกว่าปกติ รายละเอียดบางอย่างเช่นเรือ และผ้าที่วางพาดมีมากกว่าปกติ รวมทั้งใบหน้าท่าทางของหญิงสาวที่แสดงออก ลองจ้องมองภาพนานๆอาจรู้สึกเหมือนอยู่ในภวังค์เข้าไปอยู่ในอีกโลกที่เหนือจริงครับ (ไม่รู้ผมรู้สึกคนเดียวหรือเปล่า อิอิ)
โม้นอกเรื่องไปซะเยอะสรุปคือเทคนิค color modulation เป็นการเน้นแสงเงาที่มากกว่าปกติ ทำให้ตัวโมเดลที่มีขนาดเล็กกว่าของจริง สามารถแสดงมิติ และดูมีน้ำหนัก มากขึ้น อาจลองดูภาพเปรียบเทียบระหว่างโมเดลกับของจริง ภาพข้างล่าง แล้วก็ชมต่อกันยาวๆไปเลยครับ
หมดแล้วครับ ขอบคุณที่ติดตามชม
-------------------
ขั้นตอนการประกอบ ทำสี
ส่วนการ weathering คันนี้ผมลองเทคนิคใหม่ด้วยการใช้สี acrylics ติดตามอ่านได้ที่นี่ครับ
สวัสดีครับ นำงานรถถัง 1/35 คันแรกมานำเสนอ
---------------------------------------
ประวัติรถถัง M41
M41 เป็นรถถังเบาของอเมริกัน เริ่มปรากฎตัวในปี 1951 ใช้พลหทาร 4 คนควบคุม มีน้ำหนัก 25.9 ตันยาวประมาณ 8.2 เมตร กว้าง 5.8 เมตร เครื่องยนต์มีกำลัง 500 แรงม้า ทำความเร็วสูงสุด 72 km/hr.
จัดเป็นรถถังยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยติดตั้งปืนขนาด 76มม. เพื่อทดแทนรถถัง M24 Chaffee โดยปรับปรุงป้อมปืนให้แข็งแรง ระบบควบคุมการยิงและการบรรจุกระสุนใหม่ ชื่อ Walker Bulldog ได้รับการตั้งตามนายพล W.W.Walker ซึ่งเสียชีวิตในสงครามเกาหลี
พลขับนั่งที่ด้านหน้าซ้าย และสามารถมองผ่านกล้อง pericscope สามตัว ด้านล่างมีช่องทางหนีฉุกเฉิน ส่วนผู้บัญชาการรถถังและพลยิง นั่งด้านขวา ส่วนพลบรรจุกระสุนนั่งด้านหลังซ้าย พลยิงจะสามารถมองผ่านกล้องซึ่งติดตั้ง 360 องศา
รถถัง M41 เริ่มถูกทดลองใช้และพัฒนาในช่วงสงครามเกาหลี โดยทางกองทัพอเมริกันต้องการรถถัง ขนาดเขาที่สามารถลำเลียงทางอากาศ และต้องมีสมรรถณะที่ทัดเทียมกับรถถังรัสเซีย แต่มี M41 ใช้งานในสงครามเกาหลีน้อยมาก รถถัง M41 จะมีบทบาทมากขึ้น และประสบความสำเร็จอย่างมากในสงครามเวียดนาม โดยในปี 1964 M41 ได้รับการบรรจุเป็นรถถังหลักทดแทน M24 Chaffee โดยส่งมอบให้ ARVN (Army of the Republic of Vietnam - กองกำลังเวียดนามใต้ภายใต้การสนับสนุนของอเมริกัน) ซึ่งด้วยความน่าเชื่อถือของเครื่องยนต์ การควบคุมได้ง่าย และขนาดที่พอเหมาะกับภูมิประเทศ ทำให้ M41 มีบทบาทในปฎิบัติการสำคัญๆหลายครั้ง
M41 ยังได้เข้าประจำการในกองทัพของหลายประเทศได้แก่ บราซิล 300 คัน สเปน 180 ไต้หวัน 675 คัน นอกจากนี้ M41 ยังได้เข้าประจำกองทัพไทยจำนวน 200 คัน ซึ่งมีบทบาทออกแสดงในงานวันเด็กหลายปีติดๆกัน และบางโอกาสพิเศษก็ออกแสดงวิ่งเป็นแถวรอบทำเนียบด้วย ก่อนจะเพิ่งปลดประจำการไปเมื่อไม่นานมานี้
---------------------------------------
แนวคิดทำสี color modulation
สำหรับแนวการทำสีนะครับ คันนี้ประกอบแบบตามกล่องเลย ไม่ได้ดัดแปลงใดๆ โมเดลของ Tamiya ต่อง่ายและลงตัวมากๆ ส่วนเทคนิค color modulation นี้เป็นเทคนิคที่ผมชอบมาก หัดมาหลายคันแล้วและคันนี้ก็ทดลองทำอีกครับ ... พูดถึงเทคนิคนี้แล้ว เคยอ่านจากกระทู้ของคุณ Totekkopf กล่าวไว้ว่าเป็นเทคนิคที่ประยุกต์มาจากศิลปะแนว Romanticism (ศิลปะจินตนิยม) ผมสงสัยเลยลองไปอ่านดูครับ ว่าศิลปะแนวนี้คืออะไร
ออกตัวก่อนว่าแนวคิดผมคือ ผมมองโมเดลเป็นองค์ประกอบหลายๆอย่างนะครับ ทั้งงานศิลปะ งานประดิษฐิ์ งานออกแบบ วางแผน ซึ่งการทำโมสักตัวก็ใช้หลายๆอย่าง ส่วนผมเองชอบให้น้ำหนักกับมุมมองแบบที่เห็นโมเดลเป็นงานศิลปะครับ ผมอยากให้โมเดลเป็นงานที่แสดงออกถึงอารมณ์ของผม แม้ว่างานโมเดลจะต้องมีการใช้ความคิด การวางแผน การวางองค์ประกอบเป็นขั้นเป็นตอน แต่สุดท้ายแล้ว การตวัดพู่กัน เร็ว ช้า ความอ่อนเข้มของสี การใส่เทคนิค มาก น้อย หรือทำอะไรแบบไหนก็เป็นส่วนที่เว้นว่างไว้ให้ปลดปล่อยอารมณ์ออกมาได้ ซึ่งผมก็สังเกตว่างานโมเดลแต่ละคนที่ทำกันเก่งๆถึงแม้ใช้เทคนิคคล้ายกัน ขั้นตอนคล้ายกัน แต่งานจะออกมาไม่เหมือนกัน คล้ายกับว่ามองปุ๊ปก็พอจะรู้ว่างานของใคร เหมือนมีลายเซ็นต์กำกับอยู่ในตัวงาน
กลับมาที่งานแนวจินตนิยมนะครับ ผมอ่านจาก web
http://th-th.facebook.com/note.php?note_id=165640046803783
ซึ่งเขียนไว้ดีมาก สรุปคร่าวๆคือ งานศิลปะแนวนี้เป็นงานในยุค modern ซึ่ง อยู่ในยุคถัดจากงานแนว neo-classic ที่เน้นความสมจริงของภาพ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางศิลปะ แต่งานแนว Romanticism จะให้ความสำคัญกับอารมณ์มากกว่าโดยพยายามเร้าสะเทือนอารมณ์ของผู้ชม เช่นการตัดกันของน้ำหนัก แสงเงา ความสว่างและความมืด
งานแนวนี้มีขึ้นในยุคครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นช่วงของการปฎิวัติอุตสาหกรรม โดยเป็นการต่อต้านแนวความคิดแบบเดิมและอีกอย่างการเริ่มมีกล้องถ่ายรูป ทำให้ศิลปะแนว classic แบบเดิมเสื่อมความนิยม เป็นรอยต่อที่ศิลปะเริ่มเข้าสู่ยุคใหม่ที่เน้นการแสดงออกของศิลปินแบบปัจเจกบุคคล และไม่ศิลปะไม่จำเป็นต้องรับใช้ทุน การเมือง หรือศาสนาอีกต่อไป
ภาพที่มีชื่อเสียงมากและถือเป็นตัวแทนของศิลปะแนวนี้คือภาพชื่อ The Raft of the "Medusa" - แพเมดูซา โดย เดอลาครัว
ภาพสะท้อนเรื่องจริงในยุคนั้น เกี่ยวกับเหตุการณ์เรือแตกและมีลูกเรือติดอยู่บนเรือโดยไม่มีใครรู้ว่าจะรอดถึงฝั่งหรือไม่ ศิลปินเน้นแสงสว่างและมืดที่ตัดกันจำนวนมาก และอารมณ์ของผู้คนบนแพที่มีทั้งมีหวังและสิ้นหวัง
ภาพอื่นๆนะครับ
ส่วนภาพนี้ผมชอบ ลองคลิ๊กดูแบบขยายได้ตาม link ข้างล่างครับ ->
ขยายภาพ
ดูแล้วเหมือนจะเป็นภาพถ่าย แต่ดูดีๆจะพบว่าภาพวาดภาพนี้ยังคงความสมจริงขององค์ประกอบทางกายภาพ อยู่ทั้งคน เรือ และสิ่งแวดล้อม แต่มีการเน้นสีแสงที่ให้อารมณ์มากกว่าปกติ รายละเอียดบางอย่างเช่นเรือ และผ้าที่วางพาดมีมากกว่าปกติ รวมทั้งใบหน้าท่าทางของหญิงสาวที่แสดงออก ลองจ้องมองภาพนานๆอาจรู้สึกเหมือนอยู่ในภวังค์เข้าไปอยู่ในอีกโลกที่เหนือจริงครับ (ไม่รู้ผมรู้สึกคนเดียวหรือเปล่า อิอิ)
โม้นอกเรื่องไปซะเยอะสรุปคือเทคนิค color modulation เป็นการเน้นแสงเงาที่มากกว่าปกติ ทำให้ตัวโมเดลที่มีขนาดเล็กกว่าของจริง สามารถแสดงมิติ และดูมีน้ำหนัก มากขึ้น อาจลองดูภาพเปรียบเทียบระหว่างโมเดลกับของจริง ภาพข้างล่าง แล้วก็ชมต่อกันยาวๆไปเลยครับ
หมดแล้วครับ ขอบคุณที่ติดตามชม
-------------------
ขั้นตอนการประกอบ ทำสี
ส่วนการ weathering คันนี้ผมลองเทคนิคใหม่ด้วยการใช้สี acrylics ติดตามอ่านได้ที่นี่ครับ
ป้ายกำกับ:
8 โมเดล สเกล รถถัง เครื่องบิน,
gallery,
scale model,
tank
GM ground type , HGUC gundam 1/144
GM ground type จาก gundam MS08th team ตัวนี้เป็น HG เก่า ซึ่งจนปัจจุบันก็ยังไม่ออก HGUC มา (มีแต่ RX79 ที่พอจะเอาตัวเป็น base แล้วเปลี่ยนหัว GM ใส่ได้)
ตัวนี้เป็นตัวแรกๆ ตอนนั้นฟิตจัด ทั้งอุดขัด กั้นพ่น ตัวนี้เก็บ level ได้เยอะ แต่ทำแล้วตัวหุ่นก็งั้นๆ ออกเรียบๆ คิดว่าหลังจากนี้ถ้ามีโอกาสจะนำมา weathering ให้เข้ากับ concept ต่อไป
เวลาเก็บก็แบบนี้เลยครับ กันฝุ่นชงัด
ตัวนี้เป็นตัวแรกๆ ตอนนั้นฟิตจัด ทั้งอุดขัด กั้นพ่น ตัวนี้เก็บ level ได้เยอะ แต่ทำแล้วตัวหุ่นก็งั้นๆ ออกเรียบๆ คิดว่าหลังจากนี้ถ้ามีโอกาสจะนำมา weathering ให้เข้ากับ concept ต่อไป
เวลาเก็บก็แบบนี้เลยครับ กันฝุ่นชงัด
ป้ายกำกับ:
7 กันดั้ม กันพลา ทำสี,
gallery,
gundam
ชุด ground vehicle set 1/72
เป็นชุดสนับสนุบภาคพื้นดินสำหรับ เครื่องบินครับ ยี่ห้อ Hasegawa ผมได้มานานมาก แล้วได้มาแบบกล่องฉีดเนื้อพลาสติก รุ่นแรกๆ มาถึง decal เหลือง แช่น้ำก็ไม่ลอก พอแช่น้ำยากัด ก็แตก สุดท้ายเสีย decal ไปหลายแผ่น ที่เหลือก็ยังไม่กล้าแช่น้ำออกมาใช้ครับ
จริงๆผมก็ไม่ได้เล่นเครื่องบิน ชุดนี้คิดว่าไว้ทำครบจะเก็บไว้ทำฉาก gundam คงพอมั่วๆกันไปได้ :-)
ป้ายกำกับ:
8 โมเดล สเกล รถถัง เครื่องบิน
Willys MB รถ jeep scale 1/72
รถสีล้อ Jeep ครับ สุดยอดรถสมัยสงครามโลก ทำหน้าที่เคลื่อนที่เร็ว ส่งข่าว ลาดตระเวน จนแม้แต่ปัจจุบันยังมีรถ Jeep วิ่งอยู่ตามท้องถนน น่าจะแทบทุกที่ที่ อเมริกัน ไปถึง (รวมทั้งไทย)
มีดัดแปลง กันชนหน้าหลังเล็กน้อย ใช้แผ่นอลูมิเนียมบางๆมาตัด ดัดให้เข้ารูป
ทำรอยถลอกเล็กน้อยด้วย gundam marker ซึ่งทำง่ายดี แต่รอยใหญ่ไปหน่อย สำหรับตัวโมเดลเป็นของ academy นะครับส่วน รถลากผมได้มาจากกล่องโมจีน ลองนำมาพ่วงดู ไว้มีโอกาสจะนำมาทำสีครับ
... ขอบคุณที่ติดตามชมครับ
มีดัดแปลง กันชนหน้าหลังเล็กน้อย ใช้แผ่นอลูมิเนียมบางๆมาตัด ดัดให้เข้ารูป
ทำรอยถลอกเล็กน้อยด้วย gundam marker ซึ่งทำง่ายดี แต่รอยใหญ่ไปหน่อย สำหรับตัวโมเดลเป็นของ academy นะครับส่วน รถลากผมได้มาจากกล่องโมจีน ลองนำมาพ่วงดู ไว้มีโอกาสจะนำมาทำสีครับ
... ขอบคุณที่ติดตามชมครับ
ป้ายกำกับ:
8 โมเดล สเกล รถถัง เครื่องบิน,
gallery,
scale model,
tank
Rick dias , HGUC gundam 1/144
Rick dias หุ่นยนต์ gundam จาก gundam ภาค zeta ครับ เป็นหุ่นยนต์ของฝ่าย AEUG ขับโดย ตัวเอกชื่อ Char aznabel ซึ่งหุ่นยนต์ของนักบินคนนี้จะมีเอกลักษณ์คือต้องสีแดงเท่านั้น จนมีสโลแกนว่า แดงแรงสามเ่ท่า
ตัวโมเดลเองเป็น HGUC แต่เป็นยุคค่อนข้างเก่า ภายหลัง Bandai มีผลิตซ้ำออกมาอีก และเป็นรุ่นปรับปรุง มีหน้าตาและ pack หลังสวยงามขึ้น แต่ถ้าตาม animation ภาค classic ก็ตัวนี้เลยครับ
ผมมีเปลี่ยนสีที่เท้าเล็กน้อยตามที่ชอบ ส่วนมือกับท่อพลังงาน ลองทำเป็นสีเงิน มีเดินลายเล็กน้อยตามแบบจาก MG บางส่วนก็สวย บางส่วนก็ต้องปรับปรุง
ตัวนี้ไว้ว่างๆอาจนำมาติด decal ครับ คิดอยู่ว่าจะทำแบบสีเงาๆ หรือปิด clear ด้านดี อย่างไรติดตามชมได้ครับ
ตัวโมเดลเองเป็น HGUC แต่เป็นยุคค่อนข้างเก่า ภายหลัง Bandai มีผลิตซ้ำออกมาอีก และเป็นรุ่นปรับปรุง มีหน้าตาและ pack หลังสวยงามขึ้น แต่ถ้าตาม animation ภาค classic ก็ตัวนี้เลยครับ
ผมมีเปลี่ยนสีที่เท้าเล็กน้อยตามที่ชอบ ส่วนมือกับท่อพลังงาน ลองทำเป็นสีเงิน มีเดินลายเล็กน้อยตามแบบจาก MG บางส่วนก็สวย บางส่วนก็ต้องปรับปรุง
ตัวนี้ไว้ว่างๆอาจนำมาติด decal ครับ คิดอยู่ว่าจะทำแบบสีเงาๆ หรือปิด clear ด้านดี อย่างไรติดตามชมได้ครับ
ป้ายกำกับ:
7 กันดั้ม กันพลา ทำสี,
gallery,
gundam
Apsalus III ยานรบขนาดยักษ์จากหนัง Gundam
Apsalus III ยานรบขนาดยักษ์จาก gundam ตอน MS08th team ออกมาในท้ายเรื่องและถือมีจุดเปลี่ยนของหนังเพราะมีีอาวุธทำร้ายล้างสูง ขนาดยิงฐานทัพศัตรูพังพินาศได้ในทีเดียว
ตัวโมเดลมากับ gundam HG ตัว GM ground type ครับ มีหุ่นยนต์หนึ่งตัว แถมยานรบมาหนึ่งลำ คุ้มจริงๆ
ดูเพลินนะครับ เพราะยานลำนี้ไม่มีทำออกมาเป็นโมกล่องเดี่ยว และ gundam ภาคนี้ก็เป็นภาคเสริม ถ้าชอบแนว drama รักกลางไฟสงครามก็ลองหามาดูได้ครับ ไม่แพงเท่าไหร่เพราะเป็นแค่ตอนสั้นๆ DVD ก็สัก 2 แผ่นจบ ส่วน VCD ก็ 6 แผ่นครับ
ตัวโมเดลมากับ gundam HG ตัว GM ground type ครับ มีหุ่นยนต์หนึ่งตัว แถมยานรบมาหนึ่งลำ คุ้มจริงๆ
ดูเพลินนะครับ เพราะยานลำนี้ไม่มีทำออกมาเป็นโมกล่องเดี่ยว และ gundam ภาคนี้ก็เป็นภาคเสริม ถ้าชอบแนว drama รักกลางไฟสงครามก็ลองหามาดูได้ครับ ไม่แพงเท่าไหร่เพราะเป็นแค่ตอนสั้นๆ DVD ก็สัก 2 แผ่นจบ ส่วน VCD ก็ 6 แผ่นครับ
ป้ายกำกับ:
7 กันดั้ม กันพลา ทำสี,
gallery,
gundam
Bradley รถหุ้มเกราะ scale model 1/72
รถถัง modern tank Bradley ตั้งชื่อตามนายพลห้าดาวของอเมริกันสมัย WWII
คันนี้เป็น modern tank ไม่กี่คันที่ผมจะทำเพราะปกติผมชอบ WWII tank มากกว่า สำหรับคันนี้ได้ทดลองอะไรหลายอย่าง เช่นเทคนิค color modulation กับรถถังสีเขียว ลองทำรอยถลอก คราบสนิม ... ติดตามชมได้เลยครับ
คันนี้สีจะแปลกๆนะครับ เพราะผมเอา modern tank มาทำเก่า ถ้าเป็นขั้นก่อนจะทำเก่า ผมเก็บภาพไว้จะเป็นแบบนี้ครับ บางท่านว่าก่อนทำเก่าสวยกว่า
สำหรับขั้นตอนการทำแบบไล่ลำดับนะครับ
คันนี้เป็น modern tank ไม่กี่คันที่ผมจะทำเพราะปกติผมชอบ WWII tank มากกว่า สำหรับคันนี้ได้ทดลองอะไรหลายอย่าง เช่นเทคนิค color modulation กับรถถังสีเขียว ลองทำรอยถลอก คราบสนิม ... ติดตามชมได้เลยครับ
คันนี้สีจะแปลกๆนะครับ เพราะผมเอา modern tank มาทำเก่า ถ้าเป็นขั้นก่อนจะทำเก่า ผมเก็บภาพไว้จะเป็นแบบนี้ครับ บางท่านว่าก่อนทำเก่าสวยกว่า
สำหรับขั้นตอนการทำแบบไล่ลำดับนะครับ
ป้ายกำกับ:
8 โมเดล สเกล รถถัง เครื่องบิน,
gallery,
scale model,
tank
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)