ทำสีโมเดลกันดั้ม แอร์บรัช โมเดล ทำสีโมเดล หนังสงคราม หนังทหาร โมเดล model gundam กันพลา อุปกรณ์ สอน ขาย จำหน่าย วิธี ทำ ประกอบ กันดั้ม เครื่องบิน เรือ รถถัง ฟิกเกอร์ ประกอบ ทำสี ต่อ สร้าง พลาสติก gunpla ตัดเส้น ต่อดิบ คีมตัด หุ่นยนต์ gundamtool 
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=29079.msg231633#msg231633
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ปัญหาที่พบบ่อย ทำโมเดล
หนังสือประวัติศาสตร์ สงคราม ทหาร สงครามโลก
ทำสีโมเดลกันดั้ม แอร์บรัช โมเดล ทำสีโมเดล หนังสงคราม หนังทหาร โมเดล model gundam กันพลา อุปกรณ์ สอน ขาย จำหน่าย วิธี ทำ ประกอบ กันดั้ม เครื่องบิน เรือ รถถัง ฟิกเกอร์ ประกอบ ทำสี ต่อ สร้าง พลาสติก gunpla ตัดเส้น ต่อดิบ คีมตัด gundamtool  - รับชมจบแต่ละหน้าแล้วที่มุมขวาล่างสุด คลิก "บทความที่เก่ากว่า" ยังมีบทความเพิ่มอีกนะครับ - ติดต่อพูดคุย ปรึกษา หรือให้คำแนะนำ ผมได้เลยที่ kit556แอ๊ดgmail.com หรือ comment ในแต่ละบทความ หรือ คลิก ติดต่อแวะชม facebook ผมได้ครับ

ทฤษฎี เทคนิค ทักษะ

ผมก็ไม่ได้จบมาสายศิลปะ แต่มีโอกาสได้ดูรายการ ต้นศิลปะ ทางไทยทีวี ดูอยู่หลายตอนมาก ที่มีศิลปินรุ่นใหม่มาแข่งกันวาดภาพ แล้วกรรมการที่มี อ. เฉลิมชัยด้วย ดูเพราะสนุกดี แล้ว อ. เฉลิมชัย บรรยาย ฮามาก :D

ตอนตัดสินกรรมการจะมีการวิจารณ์ คำสองคำที่ได้ยินบ่อยมากๆ จากการตัดสินแต่ละตอนคือคำว่า "เทคนิค" กับคำว่า "ทักษะ" บางทีกรรมการก็บอกว่างานนี้ เทคนิคดี แต่ทักษะยังไม่พอ บางงานก็บอกว่าทักษะดีมาก ส่วนเทคนิคพื้นๆ ผมก็ฟังวนไปวนมาหลายรอบ เขาไม่เคยอธิบายมันสองคำนี้หมายถึงอะไร ด้วยความที่ทำโมเดล ผมว่ามันก็มีส่วนของศิลปะอยู่ ตามความคิดผม เทคนิคก็คือ ความรู้ที่จะประยุกต์ใช้กับงานได้ ยิ่งรู้เทคนิคเยอะยิ่งพลิกแพลง ปรับเปลี่ยนแก้ไข งานได้หลากหลาย ส่วนทักษะ คือส่วนที่ศิลปินต้องสั่งสม ทั้งอาศัยพรสวรรค์ ในการพัฒนางาน จากเทคนิคขั้นต้น ที่พอรู้ว่าทำอย่างไร แต่ศิลปินที่ทักษะสูง จะสามารถพัฒนาต่อยอดเทคนิคเข้าไปในตัวงาน โดยการปรับเปลี่ยน องค์ประกอบ แสง สี เรียกว่า ควบคุมพู่กันให้ เร็ว ช้า หนัก เบา ได้ตามใจนึก

ศิลปินมีทักษะสูงๆ ยิ่งมีศักยภาพที่จะทำงานระดับเทพๆ ออกมาได้ งานจะมีเอกลักษณ์ส่วนตัว และพริ้วไหว โลดแล่น ไปตามความรู้สึก และศิลปินก็สามารถเปลี่ยนอารมณ์ทั้งหมดให้สื่อออกมาในตัวงานได้ แต่ก่อนที่ศิลปินจะมีทักษะดีได้ ก็ต้องรู้เทคนิคก่อน อย่างบางตอน เป็นหัวข้ออิสระ ผมเห็นผู้แข่งขันบางคนใช้เทคนิคแปลกๆ ทำงานออกมา เรียกว่ามีอารมณ์และกล้าที่จะแปลงออกมาเป็นผลงานทันที แต่ปรากฎว่ากรรมการ วิจารณ์ว่า งานทำออกมาโดยยังเรียนรู้เทคนิคมาไม่ดี แนวงานยังไม่ตกผลึก เรียกว่าใช้เทคนิคที่ไม่มีประสบการณ์ มาทำงาน สุดท้ายได้ประสบการณ์เพิ่ม แต่ไม่ได้เข้ารอบ

สำหรับในส่วนของเทคนิค ผมคิดว่าเขาน่าจะหมายถึง ความรู้ที่ประยุกต์มาแล้ว พร้อมใช้งาน เช่นให้รู้มาก่อนว่า การผสมสีต้องมีสัดส่วนอย่างไร ผสมข้นๆกรณีสำหรับงานแบบไหน ผสมจางๆเมื่อไหร่ เรียกว่านำไปทำตามก็ได้ผลลัพธ์ที่ดีในระดับหนึ่งทันที อย่างไรก็ตาม ทั้งสี และตัวทำละลายต่างๆ รวมถึงวัสดุที่นำมาใช้ในงานศิลปะ ล้วนเป็นสารเคมี ที่มนุษย์สังเคราะห์ขึ้น คุณสมบัติต่างๆ ของสารเคมีถูกปรับเปลี่ยน และทำมาเฉพาะสำหรับงาน ซึ่งแสดงว่าคนผลิตสารเหล่านี้ มีความรู้ทางทฤษฎีของมันอยู่แล้ว

ไม่ว่าจะความหนาแน่นของสี ส่วนผสมต่างๆที่ถูกเติมลงไป คุณสมบัติ การแห้งเร็วช้า ความเข็งแรงของผิวสีที่แห้ง ล้วนถูกออกแบบและกำหนดไว้แล้ว สีต่างๆจึงมี คุณสมบัติทางเคมี ทั้งการระเหย ความหนาแน่น เม็ดสี ระยะเวลาที่จะแห้ง และแข็งตัวล้วนถูกกำหนดโดยผู้ผลิตมาก่อน และความรู้ทางทฤษฎีเหล่านี้ ก็ถูกถ่ายทอดโดยคนศิลปินให้เป็นเทคนิค ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่พร้อมประยุกต์นำไปใช้งาน หลายๆครั้งทำตามแล้วให้ผลลัพท์ที่ดีมาก แต่บางครั้งเทคนิต (ที่ลดทอนทฤษฎีที่ไม่จำเป็นออกเหลือแต่การใช้งานล้วนๆ) ที่สืบทอดกันต่อๆมาก็กลายเป็นความสับสน

เช่นผมเอง ตอนเริ่มเล่นก็สับสนว่า ทินเนอร์ คืออะไร ขวดไหนที่ใสๆละลายสีได้ก็ทินเนอร์หมดหรือเปล่า ทินเนอร์บางยี่ห้อก็ละลายสีได้ หลากหลาย บางยี่ห้อก็ละลายได้เฉพาะ ผมก็คิดในใจว่าทินเนอร์ที่ละลายได้ทุกอย่างก็น่าจะดีที่สุด ไม่รู้จะผลิตแบบที่ยุ่งยากออกมาทำไม หรืออย่าง สีอคริลิค ที่พอเล่นโมมาสักพักจะเข้าใจว่าหมายถึงสีสูตรที่ละลายน้ำ แต่ต่อมาก็พบว่าสีบางสูตรที่ใช้ แลคเกอร์ทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย เขาก็เรียกสีอคริลิค มางงจัดสุดๆตอนไปเจอน้ำยาที่เขาเขียนว่า "อคริลิคแลคเกอร์" ซึ่งแต่ก่อนผมเข้าใจว่าสีแลคเกอร์เป็นคนละชนิดกับสีอคริลิค แต่น้ำยานี้มันเขียนชื่อมาได้งงมาก hybrid มารวมกันในกระป๋องเดียว

แค่เรื่องนี้ผมก็งงมาเป็นปี คิดไปคิดมาบางทีก็ตัดสินใจว่า ช่างมันเถอะ มันละลายสีได้ พ่นได้ ทาได้ อันๆไหน work ก็เอาตามนั้น ซึ่งก็ได้ผล แต่ก็มามีปัญหาเมื่อผมเริ่มเปลี่ยนสูตรสีที่ใช้ ก็พบความสับสน วุ่นวายไปหมด ลองผิดลองถูก ทุกแบบ จนสุดท้ายเริ่มไปอ่านตาม web ฝรั่งถึงเจอคำอธิบาย แต่ก็เข้าใจยากมาก ผมก็ค่อยๆอ่านหลาย web เก็บมาเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง บางทีคิดว่าเข้าใจแต่มาลองทำก็พบว่าที่เข้าใจยังผิดอยู่ แต่สุดท้ายผบพบว่าความรู้เรื่องสี ตัวทำละลายต่างๆ เป็นเรื่องที่เป็นทฤษฎี คือมันเป็นเครื่องมือ สิ่งประดิษฐิ์ที่คนทำขึ้นมา เพียงแต่ผมไม่เข้าใจเอามาลองถูกลองผิด พอกลับไปอ่านลึกแล้วถึงรู้ว่ามันอธิบายได้ทั้งหมด และช่วยให้ต่อมาผมลองถูกลองผิดน้อยลง และแก้ไขปัญหาได้เป็นระบบมากขึ้น

ผมเลยมาลองคิดดูว่าบางทีมันอาจจะเป็นแบบนี้นะครับ

ทฤษฎ๊ -> เทคนิค -> ทักษะ

อธิบายคือ ศิลปินที่จะทำงานออกมาดีมากๆได้ และสามารถใส่อารมณ์ที่สื่อทุกอย่าง ตามที่คิดได้ จะเป็นต้องอาศัย"ทักษะ"การฝึกฝน แต่การฝึกฝนก็ต้องเริ่มจากการเรียนรู้"เทคนิค"ที่ถูกต้องมาก่อน ถ้าไม่รู้อะไรเลยแค่เอาพู่กันจุ่มขวดสีระบายๆไป ทำเท่าไหร่ก็ไม่ได้ดังใจ หรือถ้าผสมสีระบายออกมาจนดีได้ ก็ต้องอาศัยเวลาทดลองไปมาก ทีนี้ในการใช้เทคนิคต่างๆ บางครั้งการเข้าใจว่าทำ "อย่างไร" โดยไม่เข้าใจว่า "ทำไม" ก็ไม่เพียงพอ เพราะปัญหาบางอย่างเกิดขึ้นทั้งๆที่เราทำถูกต้องตามเทคนิคแล้ว นั่นก็เพราะเทคนิคเป็นเพียงองค์ความรู้ที่ลดทอนมาจากทฤษฎี บางทีคำอธิบายว่าทำไมก็หายไปจากเทคนิค เพราะโดยทั่วไปแล้วมันไม่ต้องใช้ แต่ก็ไม่ใช่ทุกกรณี

สรุปคือทฤษฎีน่าจะทำให้เราใช้เทคนิคต่างๆได้ดีขึ้น และการรู้เทคนิคหลากหลายก็ทำให้เรามีโอกาสได้พัฒนาทักษะได้ง่ายและเร็ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การทำงานโมเดลซึ่งน่าจะมีส่วนของศิลปะอยู่ในตัว สิ่งที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็น "แรงบันดาลใจ" เพราะปราศจากความชอบ หรือแรงบันดาลใจมากระตุ้นเราแล้ว เราคงไม่นั่งหลังขดหลังแข็งทำงานซ้ำๆซากๆ เพื่อพัฒนาทักษะ แถมยังต้องมารู้เทคนิคเยอะแยะไปหมด ไม่ต้องพูดถึงทฤษฎีที่บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น