ทำสีโมเดลกันดั้ม แอร์บรัช โมเดล ทำสีโมเดล หนังสงคราม หนังทหาร โมเดล model gundam กันพลา อุปกรณ์ สอน ขาย จำหน่าย วิธี ทำ ประกอบ กันดั้ม เครื่องบิน เรือ รถถัง ฟิกเกอร์ ประกอบ ทำสี ต่อ สร้าง พลาสติก gunpla ตัดเส้น ต่อดิบ คีมตัด หุ่นยนต์ gundamtool 
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=29079.msg231633#msg231633
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ปัญหาที่พบบ่อย ทำโมเดล
หนังสือประวัติศาสตร์ สงคราม ทหาร สงครามโลก
ทำสีโมเดลกันดั้ม แอร์บรัช โมเดล ทำสีโมเดล หนังสงคราม หนังทหาร โมเดล model gundam กันพลา อุปกรณ์ สอน ขาย จำหน่าย วิธี ทำ ประกอบ กันดั้ม เครื่องบิน เรือ รถถัง ฟิกเกอร์ ประกอบ ทำสี ต่อ สร้าง พลาสติก gunpla ตัดเส้น ต่อดิบ คีมตัด gundamtool  - รับชมจบแต่ละหน้าแล้วที่มุมขวาล่างสุด คลิก "บทความที่เก่ากว่า" ยังมีบทความเพิ่มอีกนะครับ - ติดต่อพูดคุย ปรึกษา หรือให้คำแนะนำ ผมได้เลยที่ kit556แอ๊ดgmail.com หรือ comment ในแต่ละบทความ หรือ คลิก ติดต่อแวะชม facebook ผมได้ครับ

อันตรายซ่อนเร้นที่มากับงานโมเดล



ในส่วนของความปลอดภัยเกี่ยวกับสี ตัวทำละลาย สามารถป้องกันได้ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางดังนี้

1. ตั้งแต่ต้นคือเลือกใช้ ตัวทำละลายที่มีพิษน้อยที่สุด
2. ตัวทำละลายจะระเหยเป็นปกติ แต่ถ้านำมาพ่นจะฟุ้งกระจายระเหยอย่างรวดเร็วดังนั้น การทาจะปลอดภัยกว่าการพ่น
3. สุดท้ายถ้าสารระเหยฟุ้งออกมาแล้ว เราสามารถลดผลกระทบโดยการใช้พัดลมดูดอากาศออกจากตัวหรือใส่หน้ากากป้องกัน

(ข้อควรระวัง สารละลายหลายชนิดไม่เพียงระเหยและเข้าร่างการผ่านการสูดดม แต่สามารถดูดซึมผ่านผิวหนังได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส - อันนี้ถ้าซกมกหน่อย ผมเองก็เคย ทำเพลินๆ มือเปื้อนสี ทินเนอร์เละเทะไปหมด บางทีทินเนอร์หกใส่มือจนชุ่มก็ไม่รีบไปล้างออก :-( )

สำหรับชนิดของหน้ากากต่างๆที่อาจหามาใส่ป้องกันละอองสี อ่านได้จากบทความนี้ครับ -->
Mask หน้ากาก กันละอองสี

พูดถึงข้อแรกคือเรื่องตัวทำละลาย เราก็จำเป็นต้องรู้ก่อนว่าทินเนอร์ที่เราใช้อยู่มีส่วนผสมอะไรอยู่บ้าง

1. สีอคริลิค ตัวทำละลายคือน้ำ หรือ isopropyl alcohol
2. สี น้ำมัน ,enamel ตัวทำละลายคือ turpentine ,linseed oil ,mineral spirit
3. สีแลคเกอร์ ตัวทำละลายคือ toluene ,xylene ,methyl ethyl ketone (butanone),butyl acetate ,tricholoethane

(นอกจากสารที่ทำหน้าที่เป็นตัวทำละลายแล้วผู้ผลิตอาจใส่สารทำหน้าที่ลดแรงตึงผิว หรือตัวหน่วงการระเหยลงไปด้วย แต่เป็นสัดส่วนที่น้อย)

พอรู้ว่าสารทินเนอร์สำหรับสีแต่ละชนิดมีส่วนประกอบอะไรบ้างก็มาดูว่า สารในนั้นมีพิษอย่างไร



โดยสรุปนะครับ
1. ตัวทำละลายของสีสูตรอคริลิคคือ Ethyl alcohol มีฤทธิ์เป็นสารเสพติด และดูดซืมผ่านผิวหนังได้ ส่วน Isopropyl alcohol(แอลกอฮอลล้างแผล ) ก็สามารถระคายเคือง และมีพิษโดยเฉพาะถ้าได้รับผ่านการกิน
2. ตัวทำละลายของสีน้ำมันเช่น turpentine มีความเป็นพิษสูงมาก ทั้งผ่านการสูดดม และสามารถทำให้ไตวายได้ถ้ากินเข้าไป ,อาจเป็นสารก่อมะเร็ง ส่วน mineral spirit เป็นพิษน้อยกว่า แต่ก็สามารถทำให้ระคายเคือง
3. สารที่เป็นส่วนประกอบในทินเนอร์สูตรแลคเกอร์ เช่น toluene ,xylene ,methyl ethyl ketone (butanone) เกือบทุกตัวก่อให้เกิดอาการระคายเคือง เป็นสารเสพติด และอาจเป็นสารก่อมะเร็ง บางตัวมีพิษกับตับ ไต และบางตัวทำให้เด็กในครรภ์พิการหรือแท้งได้

แนวทางความปลอดภัยสำหรับสีแต่ละสูตร - แค่ตามความเห็นผมนะครับ

1. สำหรับสีอคริลิค ตอนทาผมไม่ได้ระวังอะไรเลย เพราะผสมแค่น้ำ ส่วนตอนพ่นซึ่งผสม alcohol ผมพ่นหน้า spray booth ถ้าไม่มีลมตีย้อนกลับมาจากนอกบ้าน ก็ต้องนับว่ากลิ่นน้อยมากๆครับ แทบไม่ได้กลิ่นเลย แต่ยอมรับว่าไม่ได้ใส่หน้ากากซึ่งผมว่าใส่แล้วน่ารำคาญมาก

2. ส่วนสีน้ำมันนี่จริงๆแล้ว ตัวทำละลายมันอันตรายน่าจะที่สุดนะครับ ทั้ง turpentine หรือ mineral spirit (white spirit) ส่วน OMS หรือ odorless mineral spirit เขาว่ากลิ่นอ่อนกว่า (ไม่แน่ใจว่าพิษจะน้อยกว่าหรือเปล่า) พวกนี้ระคายเคืองทางเดินหายใจ และมีพิษได้ถ้าสูดดมไปมากๆ ดังนั้นถ้านำมาทา ก็ควรทำในที่อากาศถ่ายเท มีพัดลมดูดอากาศออกจากตัวก็ดี และถ้าไม่จำเป็นสีพวกนี้ไม่ควรนำมาพ่น เพราะมีสีสูตรอื่นที่ปลอดภัยกว่าสำหรับพ่นอยู่แล้ว สาเหตุก็คือการพ่นจะทำให้สารระเหยฟุ้งกระจาย มีโอกาสสูดดมเข้าไปมากกว่าทาซึ่งก็เพียงระเหยจากหลุมสีขึ้นมา

3. สีแลคเกอร์ซึ่งนิยมใช้กันมากเป็นอันดับต้นๆ ก็มีคัวทำละลายหลากหลาย ยี่ห้อที่ผลิตมาจากบริษัทโมเดลมักไม่ระบุส่วนผสม (ไม่รู้ผ่าน มอก. มาได้อย่างไร)

ผมก็คิดเอาเองว่าพวก AAA ทินเนอร์ก่อสร้าง (acrylic lacquer) น่าจะอันตรายที่สุด บางยี่ห้อผมเคยใช้เหม็นมาก ส่วนทินเนอร์แมงมุมของบริษัท Dupont เหม็นน้อยลงมา ออกจะหอมๆด้วย แต่ก็น่าจะอันตรายเช่นกัน สรุปคือถ้าเลือกได้ก็เลือกยี่ห้อที่ผลิตมากับงานโมเดล น่าจะรับประกันได้ระดับหนึ่งว่าเขาไม่ใช้สารที่อันตรายมากๆเป็นส่วนประกอบ ถ้านำมาทาก็แนะนำให้ทำในที่อากาศถ่ายเท มีพัดลมดูดอากาศออกจากตัว ส่วนถ้านำมาพ่นก็ต้องมี spray booth และใส่หน้ากากด้วย อย่างน้อยก็ตอนอัดเครียร์ หรือพ่นแบบ over spray ซึ่งสีจะฟุ้งสุดๆ



คำแนะนำอื่นๆเท่าที่ผมนึกออก
- นอกจากตัวตัวทำละลายสีที่มีพิษแล้ว กาวเชื่อมแผ่นอคริลิค(Dicholormethane) ,กาว cement ทั้งแบบใสและแบบข้น และ filler putty - putty ครีม (มักมีสารกลุ่มเดียวกับตัวทำละลายสีสูตรแลคเกอร์) ก็มีพิษเวลาใช้งานก็ควรหลีกเลี่ยงการสูดดมเช่นกัน
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือก่อให้เกิดประกายไฟใกล้บริเวณที่พ่นสี เพราะตัวทำละลายส่วนมากติดไฟ
- เก็บสารละลายต่างในที่มิดชิดโดยเฉพาะถ้ามีเด็กเล็กเล็ก เลี่ยงการเก็บสารละลายในขวดบรรจุน้ำเปล่าที่ดื่มหมดแล้ว
- สารละลายบางชนิดสามารถกระเด็นเข้าตา โดยเฉพาะกาว super glue (cyanoacrylate) ถ้าเป็นไปได้ควรใส่แว่นตาขณะทำ หรือหาแว่นนิรภัยมาใส่

ทั้งหมดนี้รวบรวมมาจากหนังสือเป็นหลัก และเรียบเรียงผ่านมุมมองของคนเล่นโม คิดว่าเรื่องอันตรายนี่ไม่สามารถใช้ประสบการณ์สั่งสมเรียนรู้ได้ อย่างตัวผมเองก็ไม่อยากทดลองดมสารทีละตัวจนป่วยแล้วค่อยเข้าใจว่ามันมีพิษอย่างไร ดังนั้นจึงพยายามค้นหาดูว่าอะไรบ้างที่อันตราย แค่ไหน และป้องกันอย่างไร

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่อยากให้กลัวจนเล่นโมไม่สนุก เพราะความกลัวน่าจะเกิดจากความไม่รู้ ทีนี้พอเรารู้แล้วว่าอันตรายอยู่ตรงไหน ป้องกันอย่างไร น่าจะเล่นโมได้สนุกขึ้นโดยไม่ต้องพะวงเริ่องสุขภาพ ทั้งของตัวเราเองและคนรอบข้าง เรียกว่าที่เหลือก็ลุยทำโมได้อย่างเต็มที่ไม่ต้องกลัวเกินเหตุ ถ้าเราป้องกันดีแล้ว ... อันนี้ไม่นับอันตรายซ่อนเร้นที่มากับโมเดลอย่างสุดท้าย คือ เล่นไปนานๆทรัพย์จะจางได้ อิอิ

-----------
ติดตามอ่านบทความเรื่องสี อื่นๆได้ที่ blog ผมครับ ->
http://thaimodel-kit.blogspot.com/search/label/paint

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น