ทำสีโมเดลกันดั้ม แอร์บรัช โมเดล ทำสีโมเดล หนังสงคราม หนังทหาร โมเดล model gundam กันพลา อุปกรณ์ สอน ขาย จำหน่าย วิธี ทำ ประกอบ กันดั้ม เครื่องบิน เรือ รถถัง ฟิกเกอร์ ประกอบ ทำสี ต่อ สร้าง พลาสติก gunpla ตัดเส้น ต่อดิบ คีมตัด หุ่นยนต์ gundamtool 
http://www.thaigundam.com/forum/index.php?topic=29079.msg231633#msg231633
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ประกอบ ทำสี gundam
ปัญหาที่พบบ่อย ทำโมเดล
หนังสือประวัติศาสตร์ สงคราม ทหาร สงครามโลก
ทำสีโมเดลกันดั้ม แอร์บรัช โมเดล ทำสีโมเดล หนังสงคราม หนังทหาร โมเดล model gundam กันพลา อุปกรณ์ สอน ขาย จำหน่าย วิธี ทำ ประกอบ กันดั้ม เครื่องบิน เรือ รถถัง ฟิกเกอร์ ประกอบ ทำสี ต่อ สร้าง พลาสติก gunpla ตัดเส้น ต่อดิบ คีมตัด gundamtool  - รับชมจบแต่ละหน้าแล้วที่มุมขวาล่างสุด คลิก "บทความที่เก่ากว่า" ยังมีบทความเพิ่มอีกนะครับ - ติดต่อพูดคุย ปรึกษา หรือให้คำแนะนำ ผมได้เลยที่ kit556แอ๊ดgmail.com หรือ comment ในแต่ละบทความ หรือ คลิก ติดต่อแวะชม facebook ผมได้ครับ

ตัวปรับแรงดันลม regulator สำหรับปั๊มลมงานโมเดล

airbrush ส่วนมากจะใช้แรงดันลมราวๆ 1-1.5  bar หรือ 15 - 20 PSI ในการใช้งานปกติ
(อันนี้แถม web เอาไว้แปลงแรงดันได้ --> http://www.centauro-owners.com/articles/psibar.html)

ซึ่งตัวปรับแรงดันมีหน้าที่ลดแรงดันจากถังซึ่งอาจสูงถึง 100 PSI ให้ลงมาครับ ส่วนที่ทำหน้าที่ปรับแรงดันลมก็มีเช่น


1. regulator เป็นตัวที่นักทำโมใช้กันส่วนมากจะมีตัวกรองไอน้ำ (ตัวถูกๆของผม เหมือนมันจะกรองได้แต่ขี้ฝุ่น) ติดมาด้วย

ซึ่งการปรับแรงดันตรงนี้จะำทำได้ค่อนข้างหยาบ คือปรับตั้งตัวเลขได้คร่าวๆ เวลามีการรีดพ่นสีซึ่งต้องลดแรงดันลงทีละน้อยจะทำได้ยาก ดังนั้น airbrush รุ่นบางรุ่นจึงมีการเพิ่มกลไกดังนี้ครับ

2. MAC valve




ตัวหมุนตรงที่เห็นใต้กรวยสี เป็นตัวปรับแรงดันชนิดหนึ่งครับ อันนี้คนขายเคยบอกกับผมว่ามันไม่ใช่ตัวปรับแรงดันแต่เป็นตัวปรับปริมาณลมต่อหน่วยเวลา ซึ่งผมก็งงๆ สรุปว่ามันทำหน้าที่คล้ายตัวปรับแรงดันลมมาก แต่ปรับได้ละเอียดกว่าครับ คือเวลารีดพ่น ถ้ามีการสลับพ่นคลุมบ้าง รีดพ่นบ้าง นอกจากการถอยไกพ่นสีให้มากน้อยแล้ว แรงดันลมก็มีผลอย่างมาก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ตัว MAC valve นี้ก็ต้องใช้ร่วมกับ regulator นะครับ

นอกจาก MAC valve จะมีแบบติดมากับตัว airbrush แล้วยังมีแบบติดตั้งเสริมทีหลังด้วย (ผมเองก็เสียค่าโง่ รู้งี้ซื้อตัวติดเสริมของจีนถูกๆมาติดทีหลังดีกว่า) ติดแล้วจะเป็นแบบนี้

3. ส่วนสุดท้าย ซึ่งจริงไม่น่าจะเรียกว่าตัวปรับแรงดันก็คือ valve เปิดปิดของ pump ลม

 อันนี้จะอยู่ต้นทางสุด โดยปกติก็จะบิดเปิดสุดเลย แต่ถ้าจะหมุนหรี่ๆ ให้ลมออกมาแค่พอดีทำงานพ่นสีได้ อันนี้ก็อาจเป็นไปได้นะครับ ผมไม่เคยลอง เข้าใจว่าที่คนขายเขาแนะนำ เขาคงคิดว่าเอา pump ไปทำงานประเภทเติมยางรถ หรือต่อกาพ่นสีตัวใหญ่ๆ ซึ่งปรับแรงดันหยาบๆก็ได้ ปัญหาของการมาปรับแรงดันตรงตัวเปิดปิดนี้ก็คือ สมมุติว่าเราบิดเอาไว้พอดีๆแล้ว พอเราปิด pump ก็ต้องหมุนปิดสนิท พอพ่นใหม่ก็ต้องมากะอีก แต่ถ้าเรามี regulator ซึ่งตั้งเอาไว้แน่นอนเลยเช่นสัก 15 PSI ทุกครั้งพอเราเปิดเครื่องเราจะได้แรงดันแน่นอน

อันนี้สรุปแบบสมมุตินะครับ

แรงดันจากถัง 100 PSI --> ผ่าน valve เปิดปิด ซึ่งพอเปิดก็ปล่อย 100 PSI --> ผ่านมาที่ regulator ลดแรงดันเหลือ 18 PSI ----> ผ่านมาที่ MAC valve ที่ตัว airbrush หมุนปรับได้ตามความรู้สึกขณะพ่นสี ซึ่งเพิ่งลดได้สัก 12-18 PSI แล้วแต่ประเภทงานพ่น

การควบคุมแรงดันแบบละเอียดที่ปลายทางนี้จะมีผลเวลาเราพ่นรีดเส้นเล็กๆครับ

อันนี้เป็นบทความเรื่อง แรงดัน การผสมสี airbrush ลองอ่านคร่าวๆเป็นไอเดียได้ครับ แต่เวลาทำจริงก็ไม่ได้ยุ่งยากขนาดทฤษฎีต้องเป๊ะๆ พอชำนาญก็ เทสี เททินเนอร์ แกว่งๆกะๆ หมุนๆ บางคนพ่นโมออกมาอย่างสวย อาศัยแค่ประสบการณ์ก็มี   ส่วนผมรู้ตัวเลขเยอะ พอทำจริงเน่า อิอิ
--> http://thaimodel-kit.blogspot.com/search/label/airbrush




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น