http://www.tamiya.com/english/scale/beginner2/1.htm
สนใจดูได้ที่ web ต้นทางเลยครับ ผมเห็นว่าอ่านง่ายดี ตอนผมเริ่มเล่นโมเดลแรกๆหลายปีก่อน ก็ได้พื้นฐานมาจากบทความสั้นๆนี้แหละครับ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนเริ่มเล่นโมเดล
ขั้นแรกเริ่มที่การประกอบครับ โดยใช้คีมตัดพลาสติก (โดยเฉพาะ ถ้าเป็นคีมตัดลวดธรรมดาจะตัดไม่เรียบ และในทางกลับกัน คีมตัดพลาสติกนี่ตัดลวดไม่ได้นะครับจะบิ่นเลย) ส่วนที่ตัดเล็บก็พอไหว แต่ถ้ามีคีมตัดจะได้งานที่ดีกว่าเยอะครับ
โดยศึกษาจากใบประกอบก่อนลงมือ อย่าพยายามตัดชิ้นส่วนออกมามากๆในครั้งเดียว เพราะจะทำให้สับสนเบอร์ของแต่ละชิ้น โดยมากใบประกอบจะเรียงลำดับชิ้นส่วนที่ต้องต่อก่อนหลัง ให้ตัดตามขั้นตอนจะดีที่สุด และระวังชิ้นส่วนที่มีซ้ำกันสองข้างซ้ายขวา ถ้าตัดออกมาพร้อมๆกันจะสับสนได้
ตัดโดยใช้ด้านเรียบของคีม แนบกับชิ้นงาน แต่ถ้าให้ดีให้เว้นติ่งไว้ไม่ต้องแนบสนิท เพราะถ้าตัดแนบทีเดียวอาจทำมีส่วนที่พลาสติกฉีกปริได้
ใช้ art knife เล็มส่วนที่เหลือออก ติ่งเล็กๆนอกจากไม่สวยแล้ว ยังอาจทำให้การประกอบชิ้นส่วนไม่สนิท
กาว Tamiya มีหลักๆคือฝาขาว และแบบฝาเขียว ชนิดฝาเขียวเป็นแบบกาวละลายพลาสติก เหมาะกับชิ้นฝานขนาดเล็ก ส่วนแบบฝาขาวเป็นน้ำยาละลายพลาสติกเช่นกัน แต่จะมีเนื้อเรซิ่นผสมทำให้ข้นและแห้งช้า แต่ติดชิ้นงานใหญ่ๆได้ดีกว่า เวลาทากาวให้ใช้ปริมาณน้อย และจับชิ้นงานประกบกันไว้สักครู่
เริ่มต้นก็จิ้มกาวด้วยแปรงที่ติดมากับขวด ปาดน้ำกาวส่วนเกินออก
ใช้มือจับประกบชิ้นงานไว้สักพักจนกาวเริ่มแห้ง กาวฝาเขียวซึ่งเป็นสูตร thin จะแห้งเร็วมากชิ้นงานจะประสานกันสนิทใน 2-3 ชั่วโมง สามารถนำมาตัดแต่งขัดส่วนเกินด้วยกระดาษทรายต่อได้ ส่วนกาวฝาขาว จะต้องรอทิ้งไว้อย่างน้อย 12 ชั่วโมงจึงแห้งสนิท
ชิ้นส่วนที่เล็กมาก ถ้ามีคีมปากแหลมช่วยในการประกอบจะสะดวกขึ้นมาก
สเปรย์กระป๋องเหมาะมากกับการพ่นชิ้นส่วนขนาดใหญ่ อย่างตัวถังรถยนต์ ถ้าให้ดีควรพ่นในวันที่มีแสงแดดจัด ความชื้นมีผลต่อคุณภาพสีในการพ่น อย่างเช่นเกิดฝ้าได้
พ่นแต่ละชั้นบางๆ และรอเวลาให้สีแห้งสำหรับแต่ละชั้น ประมาณ 3-4 นาที และพ่นชั้นถัดไปจนกว่าสีจะเต็ม ลองชม VDO การพ่นได้จากครับ
รายละเอียดเล็กๆ สามารถใช้สีผสมตัวทำละลาย ทาพู่กันเก็บรายละเอียดในภายหลังได้
ในกรณีที่มีการทาหรือพ่นสีักันต่างชนิดทับกัน สีที่พ่นทับ (OverCoat) บางชนิดอาจไปละลายสีชั้นก่อนหน้า (BaseCoat) สามารถดูจากตางข้างบนนี้ได้เลย
การพ่นทาทับสีชนิดเดียวกันทับกันจะไม่มีปัญหาไม่ว่าสีชนิดใดๆ แต่ถ้าเป็นการทาพู่กันทับกัน จะมีแค่สี acrylic สูตรน้ำเท่านั้นที่พอแห้งแล้วจะไม่ละลายสีชั้นล่างออกมา
- Lacquer Paint เช่นสีกระป๋องต่างเกือบทุกยี่ห้อ เช่น Tamiya หรือ สีกระป๋อง Layland TOA KOBE ของไทย และสี mr.color ของ Gunze
- สี Enamel หรือกลุ่มน้ำมันอย่างเช่น สี Enamel ขวดเหลี่ยมของ Tamiya หรือสีน้ำมัน Oil color หลอดตามร้านเครื่องเขียน
- สี Acrylic เช่นสี acrylic ขวดกลม ของ Tamiya หรือสี acrylic หลอดร้านเครื่องเขียน สีของเมืองนอกที่เป็นสี acrylic เฉพาะสำหรับทำโมเดลเช่น Andrea ,Vallejo หรือ Citadel
- Paint Marker เช่นพวกปากกาตัดเส้น นิจิ , gundam marker ,realtouch ในปากกาพวกนี้เป็นสีสูตรน้ำ
ศึกษาสีสูตรต่างๆสำหรับงานโมเดลเพิ่มได้จากบทความนี้ครับ --> สีสำหรับงานโมเดล
ดีคอลหรือสติ๊กเกอร์น้ำ ต่างจากสติ๊กเกอร์ทั่วๆไปเพราะไม่มีกาว แต่ต้องแช่น้ำให้แผ่นฟิมล์ลออกมาและนำไปแปะบนผิวโมเดล ก่อนติดควรพ่นโมเดลที่ทำสีแล้วด้วย เคลียร์มัน (gloss) จะทำให้ติดได้สวยที่สุด
จุ่มดีคอลชิ้นที่ตัดออกมาลงในน้ำ ทิ้งไว้สักพัก แต่อย่านานเกินเพราะแผ่นฟิมล์จะลอกหลุดแยกออกจากกระดาษรอง
แนบแผ่นดีคอลเข้ากับผิวโมตำแหน่งที่ต้องการ ใช้ cutton bud ชุ่มน้ำจัดตำแหน่งให้เข้าที่ เมื่อได้ตำแหน่งแล้ว ใช้ cutton bud แห้งซับน้ำออก รอ 24 ชั่วโมงก่อนพ่น เคลียร์ทับอีกที
รูปที่สองตรงที่ใช้คีมตัดนั้นสลับตำแหน่งถูกผิดหรือเปล่าครับ (X O) ผมว่าน่าจะเป็น (O X) หรือเปล่าครับ
ตอบลบตอนแรกผมคิดว่ารูปผิด แต่คิดไปคิดมาเปลี่ยนใจ น่าจะูถูกแล้วครับ เหตุผลคือการตัดด้วยคีมถ้าให้ดีควรตัดห่างจากชิ้นงานให้มีติ่งเหลือติดมาด้วย แล้วค่อยมาเล็มติ่งพลาสติกออกด้วยคีมตัดหรือ artknife อีกที
ลบแต่จะว่าไปถ้าผมมีคีมเทพ tamiya ผมก็ตัดแนบชิ้นงานหล่ะครับ อิอิ